ลงทุนใน วิทยาศาสตร์ และ เอ็นจิเนียริ่ง

นักลงทุนส่วนใหญ่รักและหลงใหลในบริษัทที่นักวิเคราะห์และคนส่วนใหญ่ในตลาดชอบเรียกว่า “หุ้นเทคโนโลยี (Technology Stock)” เวลาคุณได้ยินบริษัท Netflix, Apple, Microsoft หรือ Google ก็หลงลืมไปกับเสียงที่ได้ยินในหัวของคุณว่า บริษัทพวกนี้ละคือบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีที่พลิกโฉมโลกใบนี้

ในโลกแห่งการลงทุน คนส่วนใหญ่แทบแยกไม่ออกเลยว่า “เทคโนโลยี” และ “วิทยาศาสตร์” นั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกัน ภาพเบื้องหน้าคือ เทคโนโลยี แต่เบื้องหลังอุปกรณ์อิเล็กโทรนิค รถยนต์ไฟฟ้า โทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ นั้นคือ “หลักการทางวิทยาศาสตร์ (The Law of Science)” ล้วนๆ เบื้องหลังอินเตอร์เนตที่คุณใช้คือสาย Fiber Optic, เบื้องหลังการขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าคือ หลักการเหนี่ยวนำมอเตอร์ แบตเตอรี่ใน Smart Phone คือ Electrochemical Reaction ของ Li-ion Battery

บางทีคุณอาจจะเคยถามตัวเองว่า เรียนวิทยาศาสตร์ ตอนเด็กๆไปทำไม??? คุณอาจจะไม่ได้ใช้ความรู้ที่คุณเรียนกับงานที่คุณทำ แต่หากคุณลองหันกลับมาหวนคิดอีกครั้ง คุณสามารถนำความเข้าใจในหลักการ และกระบวนการ นำมาปรับใช้ให้เข้ากับการลงทุนของคุณได้

ในโลกแห่งเทคโลยี จะมีก็แค่จินตนาการของมนุษย์เป็นผู้กำหนดว่าเราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีไปได้ไกลเท่าไหร่ แต่…ในโลกแห่งวิทยาศาตร์ มันถูกกำหนดให้ขับเคลื่อนภายในหลักการวิทยาศาสตร์ เช่น physics, chemistry, materials, aerodynamics. การที่จะค้นพบสิ่งเล็กๆน้อยๆ การค้นคว้า ค้นพบ และวิจัยเป็นสิ่งที่ใช้เวลานาน เพื่อนำมาประกอบกันเป็นภาพชิ้นใหญ่ และขับเคลื่อนนวัตกรรมไปด้านหน้าได้

“A 30-year-old whisky will always take 30 years to age, no matter how much money or technology you have.” - Bernard Tan – วิสกี้อายุ 30 ปียังไงก็ต้องใช้เวลา 30 ปีในการบ่ม ไม่ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะมีเงินและเทคโนโลยีมากมายสักเท่าไหร่ – นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้การลงทุนในบริษัทที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการทางวิทยาศาสตร์ และใช้ความรู้ที่มีสั่งสมมาอย่างยาวนาน สร้างนวัตกรรมหลายๆอย่างขึ้นมา – บริษัทแบบนี้นี่ละที่เหมาะสมกับการลงทุนระยะยาว (Long-term Investing)

ตั้งแต่คุณตื่น จนคุณนอน อุปกรณ์ที่คุณใช้ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาปลุกรุ่นโบราณหรือสมัยใหม่ก็ผลิตโดยบริษัทอย่างเช่น Seiko Epson โดยอาศัยกลักการ piezoelectric หรือไม่ว่าจะเป็น ตัวกันสั่นสะเทือนของกล้องในมือถือรุ่นใหม่ล่าสุดที่ทำให้คุณถ่ายรูปตอนกลางคืนได้เหมือนตอนกลางวันและบริษัทที่ประกอบเครื่องเกมส์ Nindendo switch ก็ผลิตโดยบริษัทเดียวกัน Minebea Mitsumi

Engineering ที่อยู่บนพื้นฐานของ Science ทำให้เกินนวัตกรรมขึ้นมา – คำถามที่สำคัญก็คือ….คุณรู้หรือไม่ว่าสิ่งของเหล่านั้นใช้หลักการอะไรในการทำงาน และสามารถหาคำง่ายๆทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายได้หรือไม่นั่นเอง? เช่น การโตของคริสตัล การหักเหของแสง การทำโมโนเมอร์เป็นโพลีเมอร์ การเลี้ยงเซลล์ การเคลื่อนที่ของประจุ หรือว่าจะเป็นการเหนี่ยวนำมอเตอร์ และ อื่นๆอีกมากมาย

หากคุณสามารถตอบคำถามด้านบนได้แล้วละก็ บริษัทที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการทางวิทยาศาสตร์ (deep-science company) นั้นมีกระจายอยู่มากมายบนโลกนี้ มีอยู่ในหลาย industry จนคุณอาจจะไม่คิดไม่ถึงก็เป็นไปได้ เพราะวิทยาศาสตร์นั้นคือการศึกษาคนคว้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การลงทุนในบริษัทแบบนี้คือการลงทุนกับความรู้ที่คุณยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าถูกค้นพบแล้วบนโลกใบนี้…หรือว่าอาจจะยังไม่ถูกค้นพบเลยก็เป็นได้

หากคุณเป็นนักวิจัยแล้วละก็คุณจะต้องคุ้นเคยกับคำว่า “Standing on the shoulders of giants” ยืนบนไหล่ของยักษ์ ลองเข้าเวป scholar.google.com นี่คือสิ่งแรกที่คุณจะเห็น การค้นพบใหม่ๆ คือการใช้ความเข้าใจในหลักการที่มีมาก่อนหน้านี้ เพื่อค้นคว้า และค้นพบสิ่งใหม่ๆขึ้นมานั่นเอง ซึ่งก็เหมือนกับการอยู่บนหลังของยักษ์ตัวใหญ่ที่เรียนรู้มาหลายสิ่งหลายอย่าง Deep-science company ก็เช่นกัน บริษัทเหล่านี้ใช้เวลาในการค้นคว้าข้อมูล และวิจัย อย่างยาวนาน พิถีพิถรรณ ลึกซึ้ง เพื่อที่จะเข้าสู่แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ ผลพวงที่เกิดจากรายได้ กำไรและนวัตรกรรมเป็นเพียงผลพลอยได้ที่จะตามมาทีหลังตามธรรมชาติเอง

การที่จะมาเป็นบริษัท Deep-Science company นั่นใช้ความพยายามและ ความทุ่มเท เป็นเวลามากกว่าทศวรรต บริษัทเหล่านี้มักมีอายุมากกว่า 30-40 ปี สั่งสมความรู้พื้นฐานมาเป็นระยะเวลายาวนาน บริษัทที่ผมรู้จักนั้นได้คิดค้นวิธีการผลิต และการใช้ Quartz crystal มาตั้งแต่ยุค 1950 คริสตัลเหล่านี้เอามาใช้อยู่ใช้ ชิปที่เราใช้กันในรถยนต์ มือถือ หรือ หุ่นยนต์โรงงาน (Small & compact robot) หรือ นำมาใช้เป็นเป็นเซนเซอร์ ความเข้าใจพื้นฐานคือสิ่งที่นำมาสู่นวัตรกรรมเหล่านี้ ไม่มีทางเลยที่บริษัท Start-up ที่เพิ่งก่อตั้งจะมาต่อสู้กับบริษัทเหล่านี้ได้เลย

คำถามที่สองที่คุณต้องถามคือ “บริษัทเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไรกับโลกใบนี้?”
หากคุณชอบบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรม semiconductor ที่มีขนาดราวๆ 555 ล้านล้าน (billion) USD หรือ บริษัทที่ผลิตชิปทั้งหลายที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ มือถือ ทีวี หรือหน้าจอคอม polymer ที่ใช้ในการผลิตชิปเหล่านี้นั้นมาจากแค่บริษัทเพียงไม่กี่บริษัทบนโลกนี้ และสามบริษัทยักษ์ใหญ่นี้ใช้เวลาทำความเข้าใจการแข็งตัว ปฏิกิริยาของโพลีเมอร์ที่มีต่อแสงมาเป็นเวลามากกว่า 60 ปี

เพราะในอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนและเปราะบางต่อความผิดพลาดเหล่านี้ หากโพลีเมอร์ที่ใช้แข็งตัวช้าไป หรือว่าทำปฏิกิริยาไม่ตรงกับแสงที่ได้รับ ชิปตัวนั้นอาจจะเกิดความผิดพลาดไปทั้งขบวนการผลิต นั่นหมายความว่า เราจะรู้อีกทีก็ตอนเราเข้าสู่ขบวนการตรวจสอบชิปตัวนั้นตอนสุดท้ายแล้ว

โพลีเมอร์เหล่านี้ต้องแข็งตัวที่แสงความยาวคลื่น 196 nm (1 นาโนเมตร มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมเราถึงแสนเท่า) หรือ 13.5 nm ความผิดพลาดเล็กน้อยหมายถึงค่าใช้จ่ายมหาสารสำหรับบริษัท

คำถามสุดท้ายที่ต้องถามคือ “บริษัทเหล่านี้มีการเงิน (balance sheet) ที่แข็งแรงเพียงพอหรือไม่?” บริษัทเหล่านี้ต้องไม่มีสินทรัพย์มากจนล้นเหลือเกินที่จะใช้ได้ และต้องไม่ถูกเก็บทุกอย่างไว้ในสิทธิบัตร (patent) จนหมด สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การลงทุนในการค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่อง ไม่ซื้อหุ้นกลับมากบ่อยครั้ง (Share buyback) และจ่ายปันผลมากจนเกินไป (Dividend)

สิ่งเหล่านี้สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ สินทรัพย์นำมาซึ่งการค้นคว้าและวิจัย ที่จะถูกเก็บไว้เป็นความรู้ในทางสิทธิบัตร กำไรที่ได้มาจากการใช้ความรู้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีกำไรสูง สามารถนำมาจ่ายให้ผู้ถือหุ้นโดยการซื้อหุ้นคืนหรือจ่ายปันผลโดนจำนวนที่พอเหมาะ ส่วนที่เหลือคือการนำไปลงทุนต่อด้วยการค้นคว้าวิจัย และเพิ่มกำลังการผลิต (Capacity increase) หรือสร้างประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity) ของบริษัท เพื่อที่จะลดต้นทุนเพื่อที่จะกินส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งได้มากขึ้น ซึ่งทำให้ได้รายได้และกำไรมากขึ้น พอถึงจุดนี้ทุกอย่างก็วนเป็นวงกลมวัฏจักรนั่นเอง

A deep-science company เมื่อดำเนินมาถึงจุดหนึ่งแล้ว ยากนักที่จะล้มหรือหายไปจากบนโลกนี้ได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้นมีความสำคัญต่อโลกนี้เป็นอย่างมาก หากหายไปแล้วจะไม่มีใครสามารถทดแทนบริษัทนี้ได้อย่างรวดเร็ว และอาจจะทำให้เกิดความล่าช้า และปัญหาต่อบริษัทอื่นๆได้ ตัวอย่างง่ายๆ หากบริษัท ASML หายไปจากโลกนี้ โลกของเราอาจจะขาดแคลนชิปที่ใช้ผลิต สมาร์ทโฟน หรือ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ขึ้นมาอย่างทันที ปัญหาห่วงโซ่อุปทานเหล่านี้ใช้เวลาเป็นสิบๆปีในการแก้ปัญหา

หากคุณสนใจบริษัทวิทยาศาสตร์เหล่านี้แล้วละก็ เวปไซต์ของบริษัท แม้แต่ wiki ก็จะมีข้อมูลของบริษัทพวกนี้ให้คุณค้นคว้าหากคุณมีความพยายามมากพอ – หรือถ้าคุณไม่มีเวลาคุณก็สามารถหา กองทุนที่ลงทุนเกี่ยวกับบริษัทวิทยาศาตร์โดยเฉพาะ แต่ไม่น่าตกใจเลยกองทุนที่เชี่ยวชาญในบริษัทเหล่านี้ก็หายากมากเสียเหลือเกิน

ก็อย่างว่า บริษัทเหล่านี้ฟังแล้วมันไม่ตื่นมาตื่นใจกับบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายที่คนหลายๆคนพูดถึงกัน และมันก็ไม่ sexy และ น่าโอ้อวดเหมือนกับการถือหุ้นในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ใครๆก็รู้จัก

แต่อย่าลืมว่า “technology comes and goes, but science has very long staying power.” สิ่งที่คุณศึกษามันจะคุ้มค่ากับความพยายามของคุณอย่างแน่นอน

ขอขอบคุณ Hong Chye Quah, Bernard Tan, Wong Yifan และผู้แนะนำอีกหลายท่านที่ไม่สามารถเอ่ยชื่อไว้ ณ ที่นี่ – ที่แนะนำผมเรื่องการลงทุน และให้ไอเดียอีกมากมายหลายอย่างในการลงทุน

ขอโทษผู้อ่านทุกท่านด้วยครับหากมีพิมพ์ภาษาไทยผิดพลาดนะจุดใด จะพยายามแก้ไขอย่างต่อเนื่องครับ

Share the Post:
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Related Posts

ลงทุนอสังหาฯในญี่ปุ่น การซื้อบ้าน เช่าบ้าน

แน่นอนว่าคนเรามีบ้านเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะเป็นที่อยู่อาศัย บ้านในที่นี้มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน อาทิ บ้านเดี่ยว บ้านทาวน์โฮม ตึกแถว คอนโด แมนชั่น นานาชนิดเลยครับ บางคนอาศัยถาวรก็มี บางคนมีชนิดที่อาศัยชั่วคราวก็มีตามสภาพสถานะชีวิต ณ ขณะนั้น และตามการพัฒนาการของชีวิตแล้วเมื่อเรียนหนังสือจบ เริ่มทำงาน แต่งงาน มีลูก ก็อยากจะมีบ้านเป็นของตนเอง อาจจะเป็นการเช่าหรือซื้อ ซึ่งในสภาพของสังคม กฏหมาย ภาษีที่ญี่ปุ่นนั้น ทำให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่เลือกที่จะซื้อบ้านแต่เช่าเอา เพราะว่า…

Read More

เทปกาวนิตโตะต่อโลกต่อเรา

ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอบริษัทเทปกาวนิตโตะครับ หากพูดถึงเทปกาว หลายท่านคงจะนึกไปในเรื่องของการแพคขนส่งพัสดุกันมากนะครับ แต่ในความเป็นจริงเทปกาวไม่ได้ทำหน้าที่ยึดเกาะวัสดุเพียงอย่างเดียวครับ หน้าที่อื่นๆที่ใช้จริงในโลกปัจจุบันมีมากขึ้น ได้แก่ เทปที่ใช้ในทางการแพทย์ ปิดบาดแผล ส่งยาจากเทปเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง ลำเลียงยาไปยังจุดที่ต้องการ เทปที่ใช้ในทางอิเล็คทรอนิคส์ มือถือ รถยนต์ เซนเซอร์ เทปบนแผ่นวงจรไฟฟ้านำไฟฟ้าได้ ยืดหยุ่นได้ดี ถ่ายโอนคงามร้อนได้ดี เป็นต้น  ยังมีอีกในหลายๆวงการ อาทิ วงการศิลปะ วงการอาหาร กีฬา ด้วยนะครับ เท่ากับว่าเจ้าเทปนี้อยู่คู่กับคนเรามาตลอดเลยครับ

Read More