เมื่อ ออโตเมชั่น เป็นสิ่งที่จำเป็น
ปริมาณความต้องการของหุ่นยนต์ที่เติบโตอย่างมากในช่วงปี 2014 และไปถึงจุดสูงสุดในปี 2018 ได้กลับมาโตอีกครั้ง หลายคนอาจจะดีใจที่ได้เห็นการเติบโต
ช่วงนี้ผมก็ได้เห็นหลายๆกองทุนได้ออกกองทุนทีมหุ่นยนต์ หรือ ออโตเมชั่นเป็นทางเลืองให้กับผู้ลงทุนหลายๆท่าน แต่จริงๆแล้วเราควรจะซื้อกองทุนพวกนี้หรือไม่? เราก็ต้องหันกลับมาดูที่ต้นเหตุว่าทำไม หุ่นยนต์ถึงจะกลับมา?
คิดตามเหตุตามผลแล้ว เราจะสังเกตได้ว่า เศรษฐกิจของหลายๆประเทศอยู่ในช่วงถดถอยโดยเฉพาะ ประเทศอเมริกาที่มีการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อจะลดผลกระทบจากเงินเฟ้อ ทำให้สินค้าของใช้จำพวกของฟุ่มเฟือย อย่างเช่น มือถือ ทีวี หรือว่าคอมพิวเตอร์ มีราคาแพงขึ้น ทำให้ผู้คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยเงินที่มีอยู่ในกระเป๋าตังค์กันเท่าไหร่นัก
ทีนี้บริษัทใหญ่ๆจะทำอย่างไรกับเงินที่ได้มาจากธุรกิจที่เติบโตอย่างมากในช่วงก่อนโควิดดีละ? ก็มีทางเลือกอยู่ไม่กี่ทางเลือก
1) นำไปซื้อหุ้นกลับจากผู้ถือหุ้น หรืออาจจะจ่ายเงินปันผลมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้นักลงทุน
2) นำเงินกำไรที่ได้ไปลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของตัวบริษัทเอง
แน่นอนว่า ทั้งสองทางเลือกนั้นถูกเลือกใช้ในบริษัทที่แตกต่างกันไป ในประเทศที่ธุรกิจอุตสาหกรรมนั้นเจริญแล้วอย่างกลุ่มประเทศยุโรป หรืออเมริกา ก็จะอาจจะเลือกทางด้านแรก แต่สำหรับประเทศจีนหรือกลุ่มประเทศทางเอเชียนั้น เรื่องราวนั้นแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง
แต่พอเจอผลกระทบจากโรคระบาดโควิดเข้าไป หลายๆบริษัทก็เลือกที่หันเข้าหา ออโตเมชั่น (Automation) หรือการใช้หุ่นยนต์ เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงงานนั้นเอง แน่นอนอยู่แล้ว ผู้บริหารรู้แล้วครับว่า เวลาพนักงานไม่สามารถมาทำงานที่โรงงานได้ และไลน์ผลิตสินค้าต้องหยุดลงนั้น มีอย่างเดียวที่จะทำแทนได้ก็คือ หุ่นยนต์ (Robot) นั่นเอง
หากเราไปดูข้อมูลที่ประกาศโดยสมาคมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมของโลกแล้วละก็ จะเห็นได้ว่า การติดตั้งหุ่นยนต์นั้นเติบโตอย่างมากในช่วงปี 2014 และไปถึงจุดสูงสุดในปี 2018 ซึ่งจำนวนการติดตั้งหุ่นยนต์นั้นเพิ่มไปถึงสองเท่าจาก 200000 เครื่องต่อปี เพิ่มไปถึง 400000 เครื่องต่อปี (รูปด้านล่าง)
แน่นอนละว่าการเติบโตอย่างก้าวกระโดดแบบนี้ต้องมีบริษัทที่อยู่เบื้องหลังและได้รับผลประโยชน์ไปอย่างมากมายอย่างแน่นอน ไว้ในบทความหน้า ผมจะมาเล่าให้ฟัง
ในปี 2015 จีนได้ประกาศนโยบายที่เรียกว่า “Made-in-China” เพื่อเป็นการกระตุ้นการผลิตสินค้าเทคโนโลยี และเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตในประเทศของประเทศจีนเอง แต่แน่นอนละว่าประเทศจีนตอนนั้นเทคโนโลยีทางหุ่นยนต์ และกำลังการผลิตนั้นใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ การที่รัฐบาลประกาศนโยบายสนับสนุนบริษัทต่างๆ ให้เงินเพื่อเพิ่มความสามารถทางเทคโทโลยี ย่อมเป็นสิ่งที่กระตุ้นความต้องการของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมอย่างมากมายแน่นอน
นั่นหมายความว่าประเทศจีนจะต้องนำเข้าหุ่นยนต์ และส่วนประกอบต่างๆของหุ่นยนต์อย่างมหาศาลเพื่อที่จำนำมาผลิตหุ่นยนต์เองหรือ เพื่อจะเอาไปติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม
และแน่นอนครับ ตัวเลขที่ออกมา ไม่โกหกเราเลยจริงๆ ในปี 2013 ประเทศจีนติดตั้งหุ่นยนต์เพียงแค่ 36000 เครื่องซึ่งคิดเป็น 20% ของตลาดโลก แต่ว่าในปี 2020 ประเทศจีนติดตั้งหุ่นยนต์ไปถึง 168000 เครื่อง คิดเป็น 48% ของการติดตั้งทั่วโลกหรือคิดง่ายๆว่าเป็นการเติบโตถึง 5 เท่า ในระหว่างที่ส่วนแบ่งของประเทศอื่นๆนั้นไม่ได้เติบโตขึ้นไปมากสักทีเดียว (รูปด้านล่าง)
จะเห็นได้ว่า ถ้าประเทศจีนแค่ขยับด้วยการเพิ่มนโยบายซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากบริษัทอุตสาหกรรม ตัวเลขการใช้หุ่นยนต์นั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างหลายเท่าตัวเป็นรวดเร็วแล้ว คำถามคือ ในปีสองปีที่ผ่านมา ประเทศจีนและอุตสาหกรรมทั่้วโลกขยับตัวมั้ย? และใครละเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์
แต่สิ่งที่สำคัญในการลงทุนหุ้นที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์คือ เราจะเลือกบริษัทไหนในการลงทุน และประเทศไหนละที่เป็นผู้นำทางด้านหุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมชั้นนำทั่วโลก ไว้เราจะมาเล่าให้ฟังต่อในคราวหน้า
เขียนโดย แมน ปรพล