ตอนที่ 4 จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของแต่ละผู้ประกอบการ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก รายงานประจำปีของแต่ละบริษัท ในบ้านเรามีผู้ให้บริการรถไฟ และรถไฟฟ้าอยู่ 3 รายใหญ่ได้แก่ BTS บีทีเอส, BEM เบ็ม, และ SRT เอสอาร์ที แต่ละเจ้ามีความเป็นคู่แข่งกันบ้าง มีโปรเจคที่ร่วมกันบ้าง แต่ความเป็นไปและที่มาต่างกันอย่างมากเลยทีเดียวครับ
BTS ดำเนินการบริหารงานโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นเอกชนที่ถือครองเส้นทางรถไฟฟ้าในปัจจุบัน 72 กิโลเมตร สายสีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม และสีทอง และในปี 2023 นี้จะมีระยะทางรวม 135 กิโลเมตร รวมสายสีเหลือง และสีชมพูด้วย
ในขณะที่ BEM มีสายสีน้ำเงินและสีม่วง รวมระยะทาง 70 กิโลเมตร
SRT นั้นเป็นของรัฐบาลโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ตอนนี้มีระยะทาง 70.3 กิโลเมตร ประกอบด้วยสายแอร์พอร์ตลิ้ง สายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน
ในอนาคตจะมีสายสีส้มเกิดขึ้นใหม่มาด้วยแต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าใครจะเป็นคนให้บริการอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าน่าจะเป็น BEM จากข่าวล่าสุดครับ
ดูโดยภาพรวมแล้วแต่ละเจ้าก็มีเส้นทางการให้บริการในแง่ของรถไฟฟ้า ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร ณ ปัจจุบัน
แต่ละเส้นทางมีรูปแบบการทำสัญญาต่างกัน ซึ่งมีผลต่อการประเมินรายได้ของบริษัทด้วย
ขออนุญาตยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพดังต่อไปนี้
(โดยแท้ที่จริงแล้วรายได้หลักของ บีทีเอสนั้นมาจาก การทำธุรกิจโฆษณา และรายได้หลักของ เบ็มมาจากการบริหารทางด่วน)
สายสีม่วงที่ในทุกวันนี้มีจำนวนผู้โดยสารต่อวันเพียง 30,000 คนต่อวัน ทั้งที่รองรับได้ในหลัก 100,000 คนต่อวัน แต่ก็ไม่ได้มีผลต่อรายได้ของเบ็มเพราะว่า ข้อสัญญาที่ทำไว้กับ รฟม. เป็นแบบ PPP Gross Cost คือเบ็มจะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับค่าโดยสารสายสีม่วงเลย มีเพียงได้รับค่าบริหารที่เท่านั้น
Market Cap ของเบ็มมีมูลค่า มากกว่า บีทีเอส ด้วยกว่า 20,000 ล้านบาท (market cap ของบีทีเอสอยู่ที่ 102,700 ล้านบาท)
รายได้รวมของบีทีเอสในปี fiscal year 2021 อยู่ที่ 25,423 ล้านบาท มีกำไรคิดเป็น 10.9% ในขณะที่เบ็ม มีรายได้รวม 11,481ล้านบาท มีกำไรคิดเป็น 8.8% แต่ว่า SRT ที่เป็นของรัฐบาลนั้น มีรายได้รวม 15,837 ล้านบาท แต่มีกำไรติดลบ -0.47%
เบ็มกับบีทีเอส หากดูในแง่ของการแข่งขันต่างๆ การประมูลโครงการต่างๆก็เป็นคู่แข่งกันที่อาจจะมีขอบข่ายต่างกัน แต่จะไม่สามารถไปเทียบกับ รฟท.ได้เพราะว่ามีรูปแบบการทำงานด้านรถไฟที่เป็นรถดีเซลและเดินรถในระยะไกล ครอบคลุมทั่วประเทศเป็นหลักมากกว่า
เส้นทางในอนาคตจะมีอีกหลายโครงการมากมายซึ่งจะช่วยทำให้ประเทศเราก้าวไปข้างหน้า และตัวบริษัทเองก็จะเติบโตไปพร้อมๆกัน จึงสามารถพิจารณาเป็นข้อมูลในอีกแง่หนึ่งเพื่อตัดสินใจการลงทุนได้ แต่การลงทุนมีความเสี่ยง ต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งทุกแง่ก่อนเท่านั้น
ระบบขนส่งสาธารณะทางรางของบ้านเรายังถือว่ายังไม่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่เท่าที่ควรครับ เทื่อเทียบกับ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง
จากตารางข้างต้นเป็นข้อมูลจากรายงานประจำปีของบีทีเอสครับ หลังจากที่รถไฟฟ้าในกทม.และปริมณฑลในปี 2021
เทียบสัดส่วนจากจำนวนประชากรและระยะทางรถไฟฟ้า สัดส่วนการครอบครองตลาดและการแผ่กระจายของบ้านเรายัง น้อยกว่าเพื่อนๆมากครับ
เรามีจำนวนประชากรเกือบเท่าโตเกียว แต่ว่ามีจำนวนระยะทางรถไฟฟ้ารวมน้อยกว่าครึ่งนึงของโตเกียวและยังน้อยกว่าสิงคโปร์ด้วยซ้ำ
ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของนายกเรา จะช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นทางต่างๆมากขึ้นและเราน่าจะขยับขยายจำนวนสัดส่วนได้ไม่มากก็น้อยครับ เส้นทางในอนรคตจะเป็นลักษณะนี้ครับ ในปี 2029 เราจะมีระยะทางของรถไฟฟ้า 553.4 กิโลเมตร
สายที่เกิดขึ้นใหม่ได้แก่
- สายสีส้ม
- สายสีน้ำตาล
- สายสีเหลือง
- สายสีชมพู
- สายสนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ
- สายสีเทา
- ส่วนต่อขยายสายสีเขียวอ่อน
- ส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้ม แดงอ่อน
อีกทั้งจะมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินออกมาด้วยครับในปี 2024
หน้าตาก็จะคล้ายโตเกียวมากยิ่งขึ้นครับ มาให้กำลังใจผู้ให้บริการกันต่อไปครับ