ในปี 2013 ท่านประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ได้ประกาศอย่างมุ่งมั่นว่าจะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโครงการใหญ่ BRI (Belt Road Initiative) หลายท่านอาจเคยได้ยิน One Belt One Road (OBOR) หรือ Silk Roadโบราณ ทั้งหมดมาจากแนวความคิดเดียวกันครับ
มาจากเส้นทางการค้าตั้งแต่สมัยยุคจีนโบราณ การส่งการค้า การถ่ายทอดวัฒนธรรม เริ่มมาในยุคสมัย ราชวงศ์ฮั่น (ช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาล จนถึง ค.ศ. 220) ระยะทางของเส้นทางสายไหมคือ 4,000 ไมล์ และในปี 2014 มีการประชุมมรดกโลกที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ และได้มีมติให้ ขึ้นทะเบียนเส้นทางสายไหมในจีน คาซัคสถาน และ คีร์กีซสถาน เป็นมรดกโลกด้วย ภายใต้ชื่อ เส้นทางสายไหม : โครงข่ายเส้นทางฉนวนฉางอาน-เทียนชาน
ในยุคปัจจุบันนี้ท่านสีได้นำแนวคิดนี้กลับมา ทำให้สะเทือนไปทุกประเทศรวมถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย ที่เป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และยังถูกมองว่าโครงการ BRI นี้เป็นภัยคุกคามต่อญี่ปุ่น ในแง่ของตำแหน่งเจ้าแห่งการส่งออกโครงสร้างพื้นฐานที่ญี่ปุ่นเป็นที่หนึ่งในด้านนี้ และยังเป็นตัวกระตุ้นการแข่งขันระหว่างจีน-ญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้นด้วย โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ญี่ปุ่นลงทุนอยู่ อย่างไรก็ตามบางสำนักวิเคราะห์ก็มองว่าอาจจะเป็นข้อดีที่อาจเกิดความร่วมมือร่วมทุนกันระหว่าง จีนและญี่ปุ่นมากขึ้นก็ได้
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2016 ญี่ปุ่นได้ประกาศวิสัยทัศน์นโยบายว่า ให้มีเขตการค้าเสรีในแถบอินโดแปซิฟิก(Indo-Pacific) ตรงนี้เองที่นักวิเคราะห็เห็นว่าน่าจะเป็นมาตรการตอบโต้จีน อีกทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นโดยนายกอาเบะ ในปี 2017 ได้สร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันแน้นแฟ้นมากยิ่งขึ้น กับอินเดีย ยกตัวอย่างเช่น ทั้งอินเดียและญี่ปุ่นจะขยายความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ให้ทุนโครงสร้างพื้นฐานในท่าเรือทวายที่เป็นชายแดนไทย พม่า เป็นต้น
โครงการ BRI นี้บริษัทลอยด์แอนด์พาร์ทเนอร์ส(บริษัทประกันชั้นนำ)ได้ประเมินว่าน่าจะใช้งบประมาณ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในการลงทุนเชิงโครงสร้างและเพิ่มศักยภาพความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 65 ประเทศ ในทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป โดยจะเน้นโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือ ถนน ทางรถไฟและท่อส่งก๊าซ น้ำมันเป็นต้น
ทำให้จีน จะได้ความมั่นคงทางด้านพลังงาน และช่วยเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ในขณะที่ประเทศอื่นก็จะได้ส่งออกสินค้าได้สะดวกขึ้น แต่ก็มีความเสี่ยงจากอิทธิพลทางการเมืองจากจีน
จากข้อกังขาข้างต้น ญี่ปุ่นเองก็ยังคงหามาตรการต่างๆเพื่อให้ประเทศไม่ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้ แต่เดิมมีกลุ่มชื่อว่า Quad มาจาก Quadrilateral Security Dialogue ที่เริ่มมาหลังจากเกิด Tsunami ที่มหาสมุทรอินเดีย เมื่อปี 2004 ที่ 4 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย และ ออสเตรเลีย เข้าร่วมเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และภัยพิบัติ และได้ทำให้เป็นทางการในปี 2007 แต่ก็ยังไม่ได้มีการทำอะไรที่ชัดเจนเพราะเกรงจะไประคายเคืองประเทศจีน
จนมีโครงการนี้ขึ้นมาครับ BRI ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ทำให้ Quad ในเวลาถัดมาเริ่มมีการสร้างมาตรการ มีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพราะสหรัฐโดยสมัยของ Trumpและ Biden ที่เห็นศักยภาพของ Quad ที่สามารถเป็นจุดหมุนเปลี่ยนความสำคัญมาโฟกัสมากขึ้นที่ บริเวณ Indo-Pacific โดยเฉพาะไปคานอำนาจกับจีน และในปี 2021 ได้มีการนัดประชุม summitครั้งแรก และทำแบบออนไลน์ในเดือน มีนาคม ปีเดียวกัน จากนั้นก็มีการจัดประชุมอีก ที่เร็วสุดล่าสุดคือ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี2022
ทางการจีนได้ร้องเรียนว่ากลุ่มนี้เปรียบเสมือน Asian Nato แต่ผู้นำ Quad ก็ได้แต่ปฏิเสธ ซึ่งมีคำกล่าวในเดือนมีนาคม 2021 ว่า
“We bring diverse perspectives and are united in a shared vision for the free and open Indo-Pacific. We strive for a region that is free, open, inclusive, healthy, anchored by democratic values, and unconstrained by coercion.”
หรือที่มีความหมายว่า เราจะนำมุมมองที่หลากหลายและเป็นหนึ่งเดียวในวิสัยทัศน์ร่วม เพื่อเปิดกว้าง อิสระ ในบริเวณ Indo-Pacific เราจะเจริญงอกงามอย่างเปิดกว้าง อิสระ แข็งแรง และยึดในคุณค่าของประชาธิปไตยปราศจากการบีบบังคับ
และเกาหลีใต้ก็แสดงความจำนงที่อยากจะเข้าร่วม Quad ด้วย แต่สมาชิก อย่างสหรัฐ เห็นว่ายังไม่อยากปรับเปลี่ยนสมาชิกภาพในกลุ่ม จึงได้ทำเป็นลักษณะ Quad-Plus แทน โดยจะเชิญ เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์และเวียดนามมาร่วมด้วย
ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 นี้จะมีการจัดประชุม ที่เป็นแบบออนไซท์เข้าร่วมเจอหน้ากัน ครั้งที่ 3 ที่ซิดนีย์ ทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น อินเดีย ก็ตอบรับเข้าประชุมเรียบร้อย
อย่างไรก็ดี หากพิจารณากรอบการลงทุนที่ญี่ปุ่น และจีนลงทุนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วนั้น
ญี่ปุ่นก็ยังเป็นเจ้าตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ครับ ยกตัวอย่างในเร็วๆนี้ปี 2022 ตั้งแต่โครงการ สร้างสะพาน Nhat Tan ในเวียดนาม สนามบิน New Bohol ที่ฟิลิปปินส์ และท่าเรือน้ำลึก Patimban ในอินโดนีเซีย ล้วนแล้วแต่เป็นการลงทุนจากญี่ปุ่นทั้งสิ้น เปรียบเทียบขนาดโครงการจากเงินลงทุนในอินโดนีเซียและเวียดนามของจีน และญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีการลงทุน อยู่ที่ 330 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่จีนมี 100 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ญี่ปุ่นก็ไม่ได้ทำไปเพื่อเป็นการต้านอำนาจจากจีน แต่เป็นการเปิดโอกาสการลงทุน เพราะจากวิสัยทัศน์กลุ่ม Quad เองที่ต้องการ เปิดกว้าง และรับการลงทุนจากหลายๆฝ่าย ไม่จำกัดหรือผูกขาดที่ญี่ปุ่นเจ้าเดียว ทั้งยังทำให้ญี่ปุ่นรักษาการเมืองการทูตและมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้นายกคิชิดะ นายกปัจจุบันของญี่ปุ่นก็ยังสานต่อนโยบายผลักดันเศรษฐกิจและการลงทุนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้คำมั่นเร็วๆนี้ว่าจะสนับสนุน โครงการเฟสที่ 2 ของ รถไฟฟ้า MRT ในจาการ์ต้า และทางด่วนที่จะเชื่อมต่อกับท่าเรือ Patimban ด้วยการให้เงินกู้กับอินโดนีเซีย ผู้เชียวชาญด้านการเงินจาก Waseda university มองว่าเป็นการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ government-to-government และความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท หรือ Business-to-business มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นขึ้นและเป็นรากฐานของบรรดาบริษัทจากญี่ปุ่นได้ดี เพราะแนวคิดที่จริงจังนี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยนายกอาเบะ และเติบโตอย่างรวดเร็วในปี 2012 ที่นายกอาเบะปล่อยยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการเพิ่มการส่งออกโครงสร้างพื้นฐานให้ได้ 30,000 พันล้านเยน ภายใน ปี2020 แนวคิดนี้มาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจฝืดตัวในญี่ปุ่น และก็ทำได้จริงในปี 2010s เพราะมีความต้องการสูงจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นจริงจนถึงทุกวันนี้ โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือ Asian Development Bank (ADB) ได้ประเมินว่า ตั้งแต่ 2016-2030 จะมีความต้องการในการลงทุนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียมากถึง 22,600 ล้านเยน หรือเพิ่มขึ้น 1,500 ล้านเยนต่อปี
หน่ำซ้ำญี่ปุ่นยังเพิ่มมาตรการอย่างต่อเนื่องเพื่อสกัดกั้นการลงทุนจากจีน อาทิ ในปี 2014 มีการจัดตั้งกองทุน public-private ที่จะมอบให้กับโครงการต่างๆในเอเชียมูลค่าราว 110 พันล้านเหรียญสหรัฐในระยะเวลาการลงทุน 5 ปี
สาเหตุที่ญี่ปุ่นยังเป็นที่ 1 ในแง่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพราะว่าประเทศญี่ปุ่น เป็นที่ทราบกันดีว่ามีภัยธรรมชาติมาก เช่น แผ่นดินไหว พายุใต้ฝุ่น พายุหิมะ ต่างๆ ทำให้ญี่ปุ่นเองเรียนรู้และมีทักษะพิเศษ เทดโนโลยีชำนาญการ ที่สามารถทำให้โครงสร้างพื้นฐานมีความเหมาะสมในแต่ละภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศได้เป็นอย่างดี และยังมีคุณภาพสูง แต่ก็แลกกับราคาเทคโนโลยีขั้นสูง จึงมีจุดที่แพ้จีนตรงที่ราคา และการเงินที่จีนจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าญี่ปุ่นมาก
ญี่ปุ่นแก้ไขโดย ให้เงินกู้ระยะยาวและดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉลี่ยจะเป็น 30 ปี ดอกเบี้ย 0.25%ต่อปี
ด้วยปัจจัยข้างต้น ก็ทำให้ญี่ปุ่นได้รับความไว้วางใจทั้งในแง่ของการดำเนินโครงการ การให้เงินกู้ และที่สำคัญคือคุณภาพของโครงสร้าง ที่จะไม่ก่อหนี้ในภายหลังแน่นอน
ซึ่งถูกอ้างว่า ต่างจากจีนที่โดนวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องคุณภาพค่อนข้างมาก เช่นที่ อินโดนีเซียที่ราคาต้นทุนเกินและการชำระค่าใช้จ่ายมีปัญหา
ในลาวก็เช่นเดียวกัน ที่เป็นหนี้จีนเกินครึ่งของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดจึงเป็นห่วงเรื่องการผูกขาด
ทั้งหมดนี้ส่งผลให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาต้องหาทางเลือกสำรอง เช่น ญี่ปุ่นเป็นต้น
ในยุคสมัยใหม่ นอกจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นของจริงๆแล้ว ยังมีที่เรียกว่า Soft Infrastructure เช่นการบริการทางการแพทย์ ระบบดิจิทัล ซึ่งจากความต้องการการลงทุนที่เป็นเม็ดเงินมหาศาลนั้นยากที่ญี่ปุ่นประเทศเดียวจะทำได้ จึงมีการเจรจาขอทุนจาก ออสเตรเลียหรือสหรัฐฯมาเสริมอีกทางด้วยตั้งแต่ปี 2018
มาดูที่ผลประกอบการของ BRI ปี2022
- ในปี 2022 มีการลงทุนและการเงินที่คงที่เทียบกับปี 2021 คืออยู่ที่ 67.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 2021 อยู่ที่ 68.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
- มีการลงทุนที่เป็นส่วนแบ่ง จาก BRI สูงถึง 48% เพิ่มจากปี 2021 29% และมีค่าเฉลี่ยที่ 40%
- ค่าสะสมการลงทุน และการเงิน อยู่ที่ 962 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นสัญญาก่อสร้าง 573 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และการลงทุนไม่อิงการเงินอีก 389 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
- มีโปรเจคการทำเหมืองถ่านหินโปรเจคใหม่ในอินโดนีเซีย
- ข้อตกลงพลังงานจากฟอสซิล ที่เป็น 63% ของBRI ด้านพลังงาน
- และการลงทุนในกลุ่มพลังงานสีเขียวพลังงานสะอาดจาก แสงอาทิตย์ ลมและน้ำ เพิ่มขึ้น 50% จาก การลงทุน 0.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯเป็น 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากการก่อสร้าง 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯเป็น 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ได้รับความร่วมมือ 100% จากอีก 14 ประเทศ เช่น แองโกล่า เนปาล เปรู รัสเซีย และศรีลังกา เป็นต้น
แต่ก็มีข้อที่ยังต้องปรับปรุงในปี 2022 ได้แก่
- มีขนาดค่าเฉลี่ยการทำข้อตกลงร่วมลดลง และเล็กสุดตั้งแต่มี BRI 2013 มา เป็น 330 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ในปี 2022 นี้ การลงทุนใน BRI ได้รับอิทธิพลจากกลุ่ม CALT Contemporary Amperex Technology Co., Limited กลุ่มธุรกิจแบตเตอรี่ชั้นนำจาก จีน และ ได้รับอิทธิพลจาก Alibaba อย่างมาก
- สัญญาการก่อสร้างก็ได้รับอิทธิพลจาก State-Owned Enterprises SOE
ประมาณการต่อไปของ BRI
- การลงทุนที่เป็นเทรนหลงัจากนี้ในปี 2023 จะเป็น ธุรกิจพลังงาน แบตเตอรรี่ ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานถนน ท่อส่งก๊าซ
- ธุรกิจICT ธุรกิจการจัดการทรัพยากร เมหมืองแร่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจโครงการรถไฟ
BRI นี้เองก็เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ1/3ของโลกเลยทีเดียว มีการประกาศในปี 2013 ว่าจะจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 962 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแบ่งออกเป็นสัญญาก่อสร้าง 573 พันล้านเหรียญสหรัฐฯและการลงทุนไม่อิงการเงิน อีก 389 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้จีนจะมุ่งมั้นตั้งใจอยากให้โลกมีการค้าขายสะดวกง่ายขึ้น แต่ก็ถูกมองว่าเป็นการผูดขาดในทางอ้อม
ทำให้พี่ใหญ่ฝั่งตะวันตกอย่างสหรัฐฯมาหาแนวร่วมอย่างญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย ทำกลุ่ม Quad ขึ้นมา ญี่ปุ่นเองก็ไม่อาจยอมรับจีนได้อย่างเต็มอกจากการที่มีผลเสียได้หากปล่อยปละหรือเข้าร่วมกับจีนอย่างไม่รอบคอบ จึงวางตัวลังเลและค่อยๆถอยห่างออกจาก BRI และตั้งแนวการลงทุนของตนเองร่วมกับกลุ่ม Quad และยังยืนหนึ่งในตลาดอาเซียนเพราะมีประสบการณ์โครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีการปล่อยกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ ไม่ผูกขาดและเปิดกว้างตามวิสัยทัศน์ Quad ทำให้ญี่ปุ่นเป็นที่หนึ่งในอาเซียนตลอดมาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เพราะที่สำคัญคือไม่ก่อหนี้ระยะยาวให้กับประเทศที่กู้เงินไปลงทุนด้วย
โดย จิรภัทร ภักดิ์แจ่มใส
ที่มา : https://breakbulk.com/Articles/japans-ambiguous-bri-commitment
https://greenfdc.org/china-belt-and-road-initiative-bri-investment-report-2022/?cookie-state-change=1682574039146, https://www.e-ir.info/2022/06/20/balancing-rivalry-and-cooperation-japans-response-to-the-bri-in-southeast-asia/
https://www.mofa.go.jp/fp/nsp/page1e_000402.html
ภาพ : https://www.hindustantimes.com/world-news/japan-to-hold-quad-summit-next-year-taiwan-is-the-focus-101637378511426.html, https://www.pakistantoday.com.pk/2020/12/13/chinas-bri-a-simmering-overseas-debt-crisis-ft/