ตาราง Timetable มีเนื้อหาที่น่าสนใจจึงขอนำมาเป็นอีกตอนพิเศษตอนนึง เนื่องจากปัจจุบันมีระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยการสร้างตาราง Timetable ทำให้ผู้ใช้งานได้รับการอำนวยความสะดวกอย่างมาก บทความตอนนี้จะอธิบายการสร้าง และการอ่านค่าใน Timetable
โดยมากแกนตั้งจะเป็น ชื่อสถานีรถไฟเรียงราย แกนนอนจะเป็นเวลา ตั้งแต่ 03:00:00-27:00:00 ครบหนึ่งวันทำการ แน่นอนว่าสายรถไฟในญี่ปุ่นมีการเชื่อมต่อกันหลายสาย รถไฟขบวนนึงจึงสามารถวิ่งไปสายอื่นๆได้จากสถานีใดๆ การมองบใน Timetable เองก็สามารถมองแยกสายออกไปได้ด้วยเช่นกัน เพราะจุดนี้เองก็มีความสำคัญในการสร้าง Timetable ไม่ให้รถไฟที่มาจากคนละสายชนกันในแต่ละบริษัทเดินรถที่ใช้เส้นทางร่วมกัน ก่อนจะถึงจุดนั้นกลับมาดูที่พื้นฐานกันก่อน เส้นไป และเส้นกลับ เรียกว่าเส้นทริป (Tripหรือ Journey) ความชันของเส้นที่ลากขึ้นมาเกิดจาก Run Time เส้นแนวนอนคือเวลาจอดแต่ละสถานี มาจาก Dwell Time บางครั้งรถไฟอาจจะไม่ได้จอดที่สถานีหรือวิ่งผ่านไปเช่น กรณีเป็นรถไฟรางดับเบิ้ลคู่ ก็จะเกิดการแซงกันได้ที่สถานี เส้นรถไฟที่แซงไปก็จะเป็นเส้นตรงไม่มีแนวนอนที่สถานีนั้นเลย ในสถานีนึงมีการวิ่งรถขาไป ขากลับ อาจเกิดจุดตัดกันได้ แต่ไม่ได้หมายถึงรถไฟชนกัน เพราะเมื่อขยายสถานีออกมาดู จะพบว่ามีชานชลาหลายชานชลาที่รถไฟแต่ละทิศทางก็ใช้คนละชานชลากันไป
ตัวอย่างการอ่านค่าในตาราง Timetable มีคำศัพธ์คำว่า Pull-out, Pull-in หมายถึงการฟีดรถออกจากอู่จอดรถและการเก็บรถเข้าอู่จอดรถตามลำดับ มีสัญญลักษณ์เป็นวงกลม สำหรับ Pull-out และ สามเหลี่ยมสำหรับ Pull-in โดยสัดส่วนของ Pull-in และ Pull-out ในแต่ละสถานีควรมีค่าเท่ากัน เพราะนั้นหมายความว่ารถออกมาจากสถานีไหนเท่าไรก็จะกลับไปอยู่ที่สถานีนั้นเท่านั้นเพื่อให้สามารถเดินรถต่อไปได้ในวันถัดๆไป รูปที่ 6 มีสถานี 4 สถานีได้แก่ A, B, C ละ D แต่ละสถานีมี 3 ชานชลา ในรูปมี ทริป 2 ทริป ไปและกลับ Pull-out ออกมาตอน 8 โมงเช้า และPull-in ตอน บ่ายโมง สองทริปนี้รวมกันเชื่อมกัน จะเรียกว่า Block คือการนำเอาทริปหลายๆทริปมารวมกัน มีจุดกลับรถที่ สถานี D ที่ชานชลา 1 เรียกว่าการ Turnback จะสังเกตเห็นว่า ขาไปจาก A->D จะใช้ชานชลา 1 และขากลับจาก D->A จะใช้ชานชลา 2
สำหรับการแซงกัน
การสร้าง Timetable ที่ถูกต้องจึงต้องมี run time, dwell time รู้ระบบชานชลาและรู้การเดินทางในรูปแบบต่างๆของรถประเภทต่างๆ รู้สถานีกลับรถ เพื่อไม่ให้รถชนกัน และต้องเชคการใช้ ชานชลาซ้ำซ้อนกันหรือไม่ การแซงกันในระยะเวลา Headway ที่เพียงพอหรือไม่ และเมื่อเราได้เส้นทริปต้นแบบเส้นแรกแล้ว ขั้นถัดไปคือการใส่ความถี่ตัวแทน ที่จะเป็น headway ให้กับเส้นทริปตลอดทั้งเส้น ในช่วงรอยต่อระหว่าง ช่วงเวลาเร่งด่วนและไม่เร่งด่วนจะต้องสร้างความถี่โดยดูจาก Headway ที่คำนวนออกมา และเมื่อได้เส้นครบทั้ง ขาไปและขากลับ โดยที่ใส่เลขทริปเรียบร้อย ก็จะมาเชื่อมเส้นเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นBlock การเชื่อมก็ต้องอาศัยเวลา Turnback ที่เหมาะสมในการกลับรถแต่ละสถานีปลายทาง จะยากตรงที่รอยต่อระหว่างช่วงเวลาเร่งด่วนกับไม่เร่งด่วนเพราะมีเส้นทริปไม่เท่ากันทำให้เชื่อมยาก Block และจำนวนรถไฟมีความสัมพันธ์กันดังนี้ จำนวนรถไฟน้อยที่สุดที่ควรมีในระบบเพื่อให้รองรับความหนาแน่นตามที่สร้างTimetable ได้หาได้จากการลากเส้นตั้งฉากตัดกับกราฟ ที่มีแกนตั้งเป็นสถานี แกนนอนเป็นเวลา เส้นตั้งฉากตัดกับกราฟบริเวณที่มีความถี่สูงสุดจะบอกค่ารถไฟอย่างน้อยที่ควรมี เราก็จะสร้างBlock ให้มากกว่าหรือเท่ากับค่าดังกล่าว ซึ่งอาจจะมากกว่าตาม Turnback ที่เราสนใจ