การเข้าแทรกแซงการอ่อนค่าของเงินเยนเมื่อปี 1998

การแทรกแซงค่าเงินเยนของประเทศญี่ปุ่นครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว

หลายๆคนคงจะรู้กันอยู่แล้วว่าช่วงนี้ญี่ปุ่นมีการแทรกแซงค่าเงินเยนเกิดขึ้นถึง 2 ครั้งติดต่อกัน ภายในสองเดือนติดต่อกันเพื่อชะลอการอ่อนตัวของค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าสหรัฐ

ทำไมต้องมีการแทรกแซงค่าเงิน? หากคิดง่ายๆเลยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของค่าเงินเยนนั้นมีผลต่อการนำเข้าสินค้าเช่นแร่เหล็ก น้ำมัน ถ่านหิน เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า และสินค้าต่างๆเพื่อส่งออกของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ต้นทุนการผลิตแพงขึ้น และของกินของใช้แพงขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นเอง ดังนั้นธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นจึงเข้าแทรกแซงเพื่อลดความเร็วของการเปลี่ยนแปลงค่าเงินนี้

การแทรกแซงค่าเงินเยนครั้งนี้นั้นทำไมถึงสำคัญ และมีการพูดถึงอย่างมาก? เพราะว่าประเทศญี่ปุ่นไม่ได้มีการแทรกแซงค่าเงินเยนเมื่อเงินเยนอ่อนตัวลงอย่างนี้มาเป็นเวลามากว่าถึง 22 ปี!!!

วันนี้ทางเพจจะมาเล่าให้ฟังว่าญี่ปุ่นแทรกแซงค่าเงินเยนเมื่อเยนอ่อนตัวครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่กัน

ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1998 หรือหลังจากช่วงนี้ที่เกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี 2540 ของกลุ่มประเทศเอเชีย ในช่วงนั้นเงินเยนก้อมีการอ่อนค่าไปจนถึง 148 เยน/USD ในเดือน สิงหาคม 1998 แม้ในกระทั่งตอนนั้น ประเทศสหรัฐก็ยังมีการเข้าช่วยซื้อเงินเยนจากตลาดเพื่อทำให้เงินเยนนั้นมีค่าแข็งขึ้น

แล้วใครเป็นคนมีอำนาจสั่งการให้เกิดการแทรกแซงค่าเงินเยน อ่านบทความนั้นได้ที่นี่เลย

แต่ทำไมต้องแทรกแซงค่าเงินเยนในปี 1998 ?

ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี 2540 หรือ 1997 ช่วงนั้นก็มีผลกระทบต่อญี่ปุ่นเช่นกัน เนื่องจากว่าในช่วงนั้นญี่ปุ่นถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังเติบโตในทวีปเอเชีย ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่นั้นมีการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นมากกว่าส่งออกให้ประเทศญี่ปุ่นหรือเรียกว่า Trade deficit ในตอนนั้นขนาดเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นนั้นใหญ่มากเมื่อเที่ยบกับเศรษฐกิจของทวีปเอเชียรวมกันเสียอีก

จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทำให้มีการขายเงินเยนออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้เงินเยนมีการอ่อนค่าลงจาก 112 เยน ไปถึง 148 เยน ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี อ่อนค่าไปมากกว่า 34%

ผู้คนถึงกับมีการไปเข้าคิวยาวหน้าธนาคารเพื่อถอนเงินที่ฝากไว้ออก ด้วยความกลัวที่ว่าเงินที่ตัวเองฝากทิ้งไว้นั้นจะหายไปและความกังวลที่ว่าธนาคารบางแห่งอาจจะขาดทุนแล้วล้มละลาย

แต่เนื่องจากว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศที่เงินสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลกในช่วงนั้น ทำให้ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นได้ตัดสินใจเข้าแทรกแซงค่าเงินนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดาย เงินเยนกลับมาแข็งค่าอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่เดือนหลังจากการแทรกแซงครั้งนั้น แต่สุดท้ายพิษเศรษฐกิจก็ยังทำให้ธนาคารหลายแห่งในญี่ปุ่นต้องปิดตัวลงไปอยู่ดี

การแทรกแซงการเงินในแต่ละครั้งนั้นมีความสำคัญที่แตกต่างกันไป และการกระทำเหล่านี้ย่อมทำให้การแลกเปลี่ยนไม่เป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง และอาจจะมีผลกระทบตามมา

ครั้งที่แล้ว อเมริกา ได้เข้าช่วยญี่ปุ่นในการซื้อเยนเพื่อให้เงินเยนแข็งค่า แต่ตอนนี้ประเทศอเมริกานั้นก็มีการต่อสู้กับตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว

ครั้งนี้ญี่ปุ่นทำการแทรกแซงค่าเงินด้วยตัวเองเพียงประเทศเดียว โดยจุดประสงค์การทำไม่ได้มาจากวิกฤตเศรษฐกิจใดๆ แต่เพื่อเป็นการชะลอการเปลี่ยนแปลงค่าเงินอย่างรวดเร็ว และปรับสมดุลเท่านั้นเอง

แล้วคุณละคิดว่า การแทรกแซงค่าเงินนี้ จะมีผลทำให้เงินมีการแข็งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนในปี 1998 หรือไม่? เมื่อตอนนี้เยนอ่อนขนาดนี้ แล้วคุณแลกเงินเยนไว้ในกระเป๋าหรือยัง?


ปรพล ตันติธารทอง


Photo by ayumi kubo on Unsplash

Share the Post:
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Related Posts

ลงทุนอสังหาฯในญี่ปุ่น การซื้อบ้าน เช่าบ้าน

แน่นอนว่าคนเรามีบ้านเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะเป็นที่อยู่อาศัย บ้านในที่นี้มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน อาทิ บ้านเดี่ยว บ้านทาวน์โฮม ตึกแถว คอนโด แมนชั่น นานาชนิดเลยครับ บางคนอาศัยถาวรก็มี บางคนมีชนิดที่อาศัยชั่วคราวก็มีตามสภาพสถานะชีวิต ณ ขณะนั้น และตามการพัฒนาการของชีวิตแล้วเมื่อเรียนหนังสือจบ เริ่มทำงาน แต่งงาน มีลูก ก็อยากจะมีบ้านเป็นของตนเอง อาจจะเป็นการเช่าหรือซื้อ ซึ่งในสภาพของสังคม กฏหมาย ภาษีที่ญี่ปุ่นนั้น ทำให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่เลือกที่จะซื้อบ้านแต่เช่าเอา เพราะว่า…

Read More

เทปกาวนิตโตะต่อโลกต่อเรา

ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอบริษัทเทปกาวนิตโตะครับ หากพูดถึงเทปกาว หลายท่านคงจะนึกไปในเรื่องของการแพคขนส่งพัสดุกันมากนะครับ แต่ในความเป็นจริงเทปกาวไม่ได้ทำหน้าที่ยึดเกาะวัสดุเพียงอย่างเดียวครับ หน้าที่อื่นๆที่ใช้จริงในโลกปัจจุบันมีมากขึ้น ได้แก่ เทปที่ใช้ในทางการแพทย์ ปิดบาดแผล ส่งยาจากเทปเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง ลำเลียงยาไปยังจุดที่ต้องการ เทปที่ใช้ในทางอิเล็คทรอนิคส์ มือถือ รถยนต์ เซนเซอร์ เทปบนแผ่นวงจรไฟฟ้านำไฟฟ้าได้ ยืดหยุ่นได้ดี ถ่ายโอนคงามร้อนได้ดี เป็นต้น  ยังมีอีกในหลายๆวงการ อาทิ วงการศิลปะ วงการอาหาร กีฬา ด้วยนะครับ เท่ากับว่าเจ้าเทปนี้อยู่คู่กับคนเรามาตลอดเลยครับ

Read More