ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอบริษัทเทปกาวนิตโตะครับ หากพูดถึงเทปกาว หลายท่านคงจะนึกไปในเรื่องของการแพคขนส่งพัสดุกันมากนะครับ แต่ในความเป็นจริงเทปกาวไม่ได้ทำหน้าที่ยึดเกาะวัสดุเพียงอย่างเดียวครับ หน้าที่อื่นๆที่ใช้จริงในโลกปัจจุบันมีมากขึ้น ได้แก่ เทปที่ใช้ในทางการแพทย์ ปิดบาดแผล ส่งยาจากเทปเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง ลำเลียงยาไปยังจุดที่ต้องการ เทปที่ใช้ในทางอิเล็คทรอนิคส์ มือถือ รถยนต์ เซนเซอร์ เทปบนแผ่นวงจรไฟฟ้านำไฟฟ้าได้ ยืดหยุ่นได้ดี ถ่ายโอนคงามร้อนได้ดี เป็นต้น ยังมีอีกในหลายๆวงการ อาทิ วงการศิลปะ วงการอาหาร กีฬา ด้วยนะครับ เท่ากับว่าเจ้าเทปนี้อยู่คู่กับคนเรามาตลอดเลยครับ แรกเริ่มเดิมทีบริษัทนิตโตะนั้นเป็นบริษัทไฟฟ้าครับ ผลิตอุปกรณ์นำไฟฟ้าในกรุงโตเกียวตั้งแต่ปี 1918 เลยครับ ต่อมาภายหลังย้ายโรงงานจากโตเกียวมาที่อิบาระกิและโอซาก้าในปี 1946 เนื่องจากภัยจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่โรงงานที่โตเกียวถูกทำลายไป ในปีนั้นเองก็เริ่มการผลิตเทปดำขึ้นมาครับ มีการไปเปิดสาขาที่สหรัฐอเมริกาและสุดท้ายตั้งเป็นบริษัท Nitto Denki America ในปี 1968 จากนั้นมีไปเปิดบริษัทที่จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน อินเดีย ตุรกี ขยายสาขาออกไปต่างประเทศมากยิ่งขึ้น จนท้ายที่สุดก็สามารถกลับมาเปิดสำนักงานใหญ่ที่โตเกียวได้ดังเดิมในปี 2020 ซึ่งระยะหลังจากสงครามเป็นต้นมาก็มุ่งเน้นการทำเทปในวงการอื่นๆมากยิ่งขึ้นตามลำดับ และความต้องการของตลาดในแต่ละช่วงนั้นครับ ขอยกตัวอย่าง Core Technology ในแง่การยึดเกาะของนิตโตะ ในสารตั้งต้นการทำวัสดุยึดเกาะนั้นมีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ สาร Antioxidant สาร Softener สารTackifier สาร Cross-link สาร Filter สารเหล่านี้จะมาผสมผสานกันเพื่อก่อตัวเป็นตัวยึดเกาะหรือ Adhesive material ซึ่งขึ้นกับการนำไปใช้งาน ที่จะส่งผลต่อปริมาณ หรือชนิดของสารตั้งต้นแต่ละชนิด และวิธีการผลิตต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ในรถยนต์ที่มีบริเวณเสียหายต้องการการซ่อมอย่างถาวร ก็จะใช้Adhesive material ที่แข็งแรง อยู่ทนนาน ในขณะที่หน้าจอมือถือที่มีfilm ต้องการความแข็งแรงแต่การเปลี่ยนfilm ก็ต้องลอกออกสะดวกและไม่ทิ้งร่องรอยไว้ด้วย เป็นต้น ถ้าแบ่งชนิดจะแบ่งได้เป็นการยึดเกาะ 4 ชนิดต่อไปนี้
- ยางยึดเกาะ เป็นธรรมชาติของยางที่สามารถทำการยึดเกาะแบบต่ำได้ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเทปแพคสิ่งของ ราคาถูก โดนอากาศ แดดแล้วเสียหายง่าย
- อคริริคยึดเกาะ มีความโปร่งใสและทนทานต่อสภาพอากาศ ความร้อน ส่วนใหญ่ใช้เป็นจอ LCD หน้าจอมือถือ ใช้ในรถยนต์ เนื่องจาก อคริริคเป็นสารที่มีความเป็นขั่วสูง จึงจะไม่สามารถยึดเกาะได้ดีกับสารที่มีความเป็นขั่วต่ำ จำเป็นต้องเติม tackifier ลงไปเพื่อช่วยเรื่องการยึดเกาะ ทนทานดีกว่าแบบยาง
- ซิลิกอนยึดเกาะ ตัวนี้จะเด่นในเรื่องการทนทานต่อสภาพอุณภูมิสูงมาก ต่ำมาก ได้ดีเยี่ยม และสามารถเสริมการทนทานต่ออุณหภูมิได้ด้วยการเติม Benzoyl Peroxide ราคาแพง ทนทานมาก
- ยูรีเทรนยึดเกาะ เด่นในด้านการซึมของความชื้น สามารถลอกออกง่าย แต่สร้างเป็นสารยึดเกาะที่แข็งแรงได้ยาก
เบื้องต้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างของสารตั้งต้นสารยึดเกาะครับ นิตโตะวิจัยและทดลองในการนำเอาเทปแต่ละชนิดให้ได้ไปใช้งานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่สุดครับ ขอยกอีกหนึ่งตัวอย่างเทคโนโลยีก่อนจะไปดูเรื่องการเงินและการเทียบเคียงกับเจ้าอื่นๆนะครับ
เทคโนโลยีการโค้ตติงพื้นผิวด้วยความแม่นยำสูง โดยที่ระดับการเคลือบหรือโค้ตติงนั่นเท่ากัน มีความมองเห็นได้ชัดเจน การเคลือบพื้นผิวนี้จะใช้ในงานอิเลคทรอนิคส์ ไฟฟ้า แสงและการมองเห็น เกี่ยวเนื่องไปถึงยา วงการแพทย์ ที่นิตโตะเองมีหัวเคลือบที่จะจ่อไปที่ชั้นวัสดุมีตัวโรลเล่อหมุนไปเกลี่ยชั้นฟิล์มเคลือบออกมาใช้งาน เรียกว่าเป็นเทปยึดเกาะอีกชนิดนึงที่มีการเคลือบสารตามต้องการได้ตามวัสดุที่นำมาใช้
สำหรับเรื่องงบการเงิน ค่าใช้จ่ายนั้น ของนิตโตะเมื่อย้อนกลับไป ตั้งแต่ ปี 2018 ก่อนโควิด-19 มียอดขายที่ 800,000 กว่าล้านเยน แต่เนื่องด้วยโควิดยอดขายลดลงไปครับเหลือ 740,000 กว่าล้านเยน ในปี 2019 และ 760,000 กว่าล้านเยนในปี 2020 เพิ่งกลับมาฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในปี 2021 2022 ขึ้นมาที่ 850,000 กว่าล้านเยน และ 929,000 กว่าล้านเยนในปี 2022 เลยครับ ที่น่าสนใจคือ แม้ว่ายอดขายจะลดลง แต่นิตโตะได้ลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงโควิดและลงทุนการวิจัยมากขึ้นโดยสวนกับกระแสยอดขายครับ โดยมีอัตราการลงทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 2000 ล้านเยนเลยครับ จากปี 2018 ที่ 31,000 กว่าล้านเยนเป็น 40,000 กว่าล้านเยนในปี 2022 ตัวเลขค่าใช้จ่ายในการลงทุนวิจัย อาจจะช่วยชี้ให้เห็นการให้ความสำคัญกับการขายสินค้า แต่สำคัญอยู่ที่ยอดขายที่เป็นตัวเลขจริงครับ ซึ่งสุดท้ายในปี 2022 ก็เด้งกลับมาได้ในแนวโน้มขาขึ้นเดิมครับ เพราะเทคโนโลยีเทปนั้นเติบโตต่อเนื่องสังเกตจากภาวะที่ไม่ปกติที่ต้องการวัสดุพิเศษมาแก้ปัญหา เยียวยาบาดแผลทางสังสม โครงสร้างและทางร่างกาย รายได้ส่วนใหญ่ของนิตโตะนั้นแบ่งออกเป็น 4 segments หลักได้แก่ Optronics (52.8%), Industrial Tape (38%), Life Science (6.0%) และ อื่นๆ (3.2%) รวมเป็น 853.4 พันล้านเยนในปี 2022 ตลาดหลักนั้นอยู่ในเอเชียและโอเชียเนียครับคิดเป็น 62.4% ตามมาด้วยญี่ปุ่น 22.9% อเมริกา 9.8% และยุโรป 4.9%
อีกหนึ่งวิสัยทัศน์ของนิตโตะคือ กิจกรรมซันชิน คือการกระตุ้นความต้องการใหม่จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และวิธีการใช้ใหม่
เป็นกระบวนการสร้าง สามใหม่ มาจาก ซันหรือซังที่แปลว่า สาม และ ชิน แปลว่าใหม่ ตามภาพที่ 1 ด้วยเทคโนโลยีที่มี ตลาดที่มี ก้าวไปสู่สิ่งใหม่ๆที่มองโดยผิวเผินแล้วบริษัทไหนๆก็ทำได้ แต่ด้วยนิตโตะ จะมีแกนหลักเทคโนโลยีที่มั่งคงและกระตุ้นกระจายได้เร็วง่ายกว่าที่อื่นๆ
ในทางอุตสาหกรรมที่นิตโตะพ่วงต่อเข้าไปด้วยเป็นเสมือนแหล่งอะไหล่ให้กับ tablet, mobile phone, semiconductors ที่ยังคงมีความต้องการมือถือหรืออุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ราคาสูงอยู่ แต่ในปีหลังการฟื้นตัวโควิดเองก็ยังพบปัญหาราคาน้ำมันดิบ ที่ส่งผลต่อราคาค่าขนส่งด้วย ถึงอย่างนั้นรายได้ก็ยังเพิ่มขึ้น 11.2% จากปี 2020 มาสู่ปี 2021 ครับ เป็นเงิน 330,427 ล้านเยน
มีอีกบริษัทเทปเชิงอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ชื่อ Teraoka Seisakusho ครับ แต่สัดส่วนในตลาดญี่ปุ่นเล็กกว่านิตโตะมากครับ มียอดขายในปี 2021 อยู่ที่ 21,000 ล้านเยนเท่านั้นครับ แต่ก็เป็นSupplier ร่วมกันกับ นิตโตะครับ สามารถมองนิตโตะของญี่ปุ่นนี้เป็น 3M ของอเมริกาได้เลยครับ