จดหมายการลงทุน Engineering Newsletter

พลาสติกและการจัดการขยะของประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นในปี 2023 มีประชากร 125 ล้านคน มีปริมาณการผลิตพลาสติก 10 ล้านตันต่อปี และเป็นขยะพลาสติกถึง  8.5 ล้านตันต่อปี

ขอย้อนกลับมาที่สมัยก่อน ว่าญี่ปุ่นมีการดำเนินการจัดการขยะอย่างไรนะครับ

แบ่งการจัดการขยะออกเป็น 3 ยุคใหญ่ๆดังนี้

เริ่มจากยุคการพัฒนาด้านการสาธารณสุข ปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 ครับ

ในยุคเริ่มต้นนี้ยังไม่มีกฏหมายมารองรับการควบคุมการจัดการขยะ ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประชาชนจ้างภาคเอกชนจัดการทิ้งขยะไป แต่ก็มีการแยกขยะแบบง่ายๆเกิดขึ้นแล้ว คือส่วนที่ขายต่อได้ กับส่วนที่ขายไม่ได้ครับ ส่วนที่ขายไม่ได้ก็จะทิ้งตามธรรมชาติไป ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ โรคระบาด ต่อมาจึงมีการสร้างโรงงานเผาขยะขึ้นมาแต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงเกิดการเผาขยะกันเอง เกิดอุบัติเหตุบ้าง เกิดมลภาวะทางอากาศด้วย ยิ่งไปกว่านั้นหลังสงคราม ก็มีผู้คนอพยพกันเข้าเมืองมากขึ้นอีก จำนวนขยะก็ทวีคูณขึ้นไปครับ ในปลายยุคบุกเบิกนี้จึงมีการออกกฏหมายจัดการขยะแบบง่ายโดยให้การบริหารส่วนจังหวัดเข้ามากำกับดูแล

ในยุคถัดมา ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ญี่ปุ่นมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วก้าวกระโดด ผู้คนมีอำนาจการซื้อสินค้า บริโภค อุปโภคมากขึ้น อุตสาหกรรมขยายตัว มีสารเคมี ของเสียปนเปิ้อนถูกลักลอบปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติด้วย ทำให้ในช่วงปี 1971 มีการก่อตั้งกระทรวงสิ่งแวดล้อม เพื่อออกกฏหมายอย่างเคร่งครัดและ เริ่มต้นการแยกขยะอย่างละเอียดนั้บตั้งแต่นั้นมา

ทำให้ในยุคปัจจุบัน

ญี่ปุ่นมีมาตรการเกี่ยวกับขยะมากมาย อาทิ พันธสัญญาระหว่างเขต 23 เขตของมหานครโตเกียว กับภาคเอกชนจะทำการกำหนดพันธสัญญากับบริษัทเอกชนที่จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยกฎหมายของท้องถิ่นและระเบียบควบคุมโดยสภาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของมหานครโตเกียว และ กฎหมายพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการสร้างสังคมในรูปแบบการหมุนเวียน ค.ศ. 2001 เป็นต้น และญี่ปุ่นยังมุ่งสู่การเป็นสังคมแห่งการหมุนเวียนครับ เห็นได้จากหนึ่งในคำแถลงการณ์ต่อประชาคมโลกช่วงเดือนตุลาคม 2020 ที่จะ ทำCarbon Neutral ให้ได้ภายในปี 2050 ก็เป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นที่สะท้อนถึงความตั้งใจจริงของญี่ปุ่น เพราะในปีถัดมา เมษายน 2021 ก็มีกฎหมายออกมากระตุ้นอีกฉบับครับ

อีกทั้งจากคุณลักษณะของคนญี่ปุ่นคือ เป็นผู้ที่เห็นแก่ส่วนรวมอย่างมาก จะเห็นได้จาก การแยกขยะด้วยครับ กล่าวคือ ในแต่ละเมือง แต่ละเขตจะมีเทศบาลท้องถิ่น ประกาศปฏิทินวันทิ้งขยะตามประเภท และจะมาเก็บในเช้าวันนั้นในสถานที่ที่กำหนด โดยบางเขตอาจจะต้องมีถุงโดยเฉพาะสำหรับขยะแต่ละประเภทด้วย ต้องทิ้งให้ถูกวันและไม่ไปทิ้งก่อนหน้าเร็วเกินไป เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่เก็บขยะที่มาทิ้งผิดวันและอาจจะมีนกอีกามาจิกกินขยะสดได้ หากเป็นขยะสด จะทำให้ขยะกระจายและสกปรกไปทั่ว คนญี่ปุ่นจะละอายและเกรงใจมากเพราะจะสร้างความเดือนร้อนให้กับคนที่เดินผ่านไปมา และเพื่อนบ้าน แต่บางครั้งก็จะมีอาสาสมัครจัดเวรยามมาคอยสอดส่องสำรวจว่ามีคนทิ้งขยะผิดวันไหม ผิดเวลาไหมอีกด้วยครับ และถังขยะข้างนอกหายากด้วยเป็นการลดการก่อขยะ แถมยังป้องกันการก่อการร้ายด้วย

หากจะยกตัวอย่างการบริหารจัดการขยะ

เช่นในกรุงโตเกียว ที่มีประชากรประมาณ 10% ของทั้งประเทศ มีการจัดการขยะตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้า กระบวนการขนส่ง กระบวนการใช้สอย และสุดท้ายเป็นขยะในที่สุดครับ

ในโตเกียวก็จะแบ่งการจัดการเป็น สองส่วนย่อยครับ ส่วนแรกคือหน่วยงานรวบรวมและขนส่งขยะ สองคือส่วนการบำบัดขยะ โดยภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ก็จะมีการขนส่งขยะเฉพาะกิจเพื่อนำไปบำบัดและกำจัดต่อไปซึ่งจะต่างจากภาคครัวเรือนเล็กน้อยเท่านั้นครับ

ในโตเกียวมีเตาเผาขยะ 19 แห่งสำหรับ ขยะที่เผาไหม้ได้ และ อีก 2 แห่งสำหรับขยะที่เผาไหม้ไม่ได้ สำหรับขยะขนาดใหญ่จะถูกบดอัดก่อนแล้วส่งไปเผาในเตา 19 แห่งต่อไปครับ ส่วนที่รีไซเคิลได้ก็จะเข้ากระบวนการรีไซเคิลเลยโดยตรงครับ

หลังจากการเผาแล้ว จะเกิดขี้เถ้า ขี้เถ้าก็จะนำไปกำจัดด้วยการฝังกลบ อีกส่วนของขี้เถ้าก็จะมาหลอมแปรรูปเป็นตะกลันเพื่อนำไปผสมซีเมนต์และใช้ประโยขน์ด้านโยธาต่อไปเช่นการทำอิฐบล็อค ปูถนน

แร่เหล็กอลูมิเนียมที่ได้จากการเผาเช่นกันก็จะนำไปใช้งานต่อได้ 

ขณะที่เผาขยะ หลอมตะกลันนั้นจะมีความร้อนมหาศาลซึ่งนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างดี หรือขายครัวเรือนในราคาถูกได้ด้วย

ขี้เถ้านั้น เอามาบดอัดและถมทะเล เช่นที่โอไดบะ เป็นเมืองที่เกิดมาจากการถมขยะครับ

การเผาจะมี 2 ขั้นตอน 850 องศาเซลเซียสและตามด้วย 1200 องศาเซลเซียส จะได้ สลัค นำไปผสมในสัดส่วน 20% ขี้เถ้าที่ได้เฉลี่ยต่อวันในหนึ่งเตาคือ 50 ตัน และผลิตไฟฟ้าได้ถึง 12,000 กิโลวัตต์ ประมาณ 5,000 กิโลวัตต์นำมาใช้ในโรงงานเผาต่อไป ที่เหลือขายครัวเรือนและโรงงานไฟฟ้าต่อไปครับ เน้นการนำเอาขยะกลับมาใช้ใหม่ กลับมารีไซเคิลครับ มาถมทะเล สร้างถนน เป็นต้นครับ

รูปภาพ : หอเผาขยะที่อิเคะบุคุโระ ที่หลายท่านอาจเคยสงสัยว่าเจ้าตึกประหลาดนี้คืออะไรกันนะ

ขอเล่าถึงเรื่องพลาสติกครับ

ญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นประเทศแห่งความละเอียดเอาใจใส่ จนบางครั้งใส่รายละเอียดมากเกินไปกับ แพคเกจจิ้ง ที่จะพบว่ามีพลาสติกห่อหุ้มหลายชั้นมาก ตั้งแต่ภายนอก เจอพลาสติกบางหุ้มกล่องพลาสติก หน่ำซ้ำขนมภายในแต่ละชิ้นยังมีถุงพลาสติกแยกให้อีกต่างหาก บางครั้งมีโฟมกันกระแทกด้วยครับ ใส่ใจผู้บริโภคแต่ก็ต้องหันกลับมาดูผลต่อสิ่งแวดล้อมระยะยาวกันครับ ญี่ปุ่นจึงมีมาตรการใหม่ออกมาควบคุมเรื่องนี้ครับ

ธุรกิจการรีไซเคิลกำลังเข้ากระแส อินเทรนในปัจจุบัน ในปี 2017 ญี่ปุ่นขายขวด PET ไป 587,000 ตัน โดยสามารถรีไซเคิลกลับมาได้ 84.8% สูงกว่าปีก่อน 0.9% ซึ่งทำสถิติสูงสุดในโลกครับ ด้วยกฏหมายที่เข้มงวดและเอื้อให้ฝ่ายเอกชนร่วมกันรีไซเคิลนำเอามาขายต่อให้รัฐบาลได้ แต่อย่างไรก็ตามลดการใช้ตั้งแต่ต้นคือสิ่งที่ดีที่สุดนะครับ

ยกตัวอย่างธุรกิจชาเขียว Ito-En

รูปภาพ : ชาเขียวIto-En ที่ช่วยลดปริมาณ Body Fat ในร่างกายได้

หลายท่านคงเคยดื่มเครื่องดื่มชาเขียวยี่ห้อนี้กันนะครับ มีชาบาร์เลย์ ชาอูหลง ชามะลิและผลิตภัณฑ์น้ำผัก Aojiru ด้วยครับ แถมยังมีภาคธุรกิจกาแฟด้วยนะครับ ในนาม Tully’s Coffee Japan ครับ ที่ได้ทำข้อตกลงรับไลเซนส์ มาจาก บริษัทแม่ที่อเมริกามาเป็นแฟรนไชส์ในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2006 ครับ Ito-En ใช้ขวดพลาสติกจำนวนมากเลยครับ ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของเขาที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้น Concentrated Oi Ocha ที่จากงานวิจัยพบว่าช่วยลดBody fat ในคนที่มี BMI(Body Mass Index) สูงได้จริง ได้ทำการทดลองเมื่อปี 2016 กับชายหญิงจำนวน 124 คนที่มีค่า BMI ระหว่าง 25-30 พบว่ากลุ่มที่กิน Gallate-Type Catechin 246.5mg หลังอาหารทุกมื้อเป็นเวลา 12 สัปดาห์ มีปริมาณไขมันสะสมในร่างกายลดลงอย่างเห็นได้ชัดจาก 0 ลดลงมากเป็นสัดส่วนเกือบ -25 ส่วนในขณะที่กลุ่มที่กิน Gallate-Type Catechin 149.5mg กลับไม่มีการลดลงของไขมันเท่าไรเลย ซึ่งใน ชาเขียวIto-Enนี้มีส่วนผสมของสารสกัด Gallate-Type Catechin อยู่ถึง 340mg. ครับ ผู้เขียนก็ดื่มอยู่แต่ไม่ได้ต่อเนื่องเลยยังไม่รู้ผลครับ

ที่จะพูดถึงคือการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมของ Ito-En ครับ

Ito-En มี market share ในกลุ่มชาเขียว ที่ 33-38%ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้รับความนิยมซึ่งถูกคาดการณ์ว่ามาจากการวิจัยที่ทุ่มเท และเรื่องของการลดขยะพลาสติกครับ เขาตั้งใจจะรีไซเคิลพลาสติกให้ได้ 100% ในปี 2030 นี้ครับ เพราะได้ลงนามในข้อตกลงbottle-to-bottle recycling agreement กับหน่วยงานการปกครองท้องถิ่น ที่ฮิเมจิและเซนไดเมืองปี 2021 เพื่อลดการใช้อนุพันธ์จากปิโตรเลี่ยมผลิตใหม่ และสามารถลด การปล่อยก๊าซ CO2 ได้ถึง 60% ลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย มีการใช้ใบชาที่ใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบทำกล่องลังในการขนส่งสินค้าของเขาเอง เสื่อทาทามิ มาขายต่อสร้างกำไรได้ ซองกระดาษซองจดหมายอีกด้วย บางครั้งก็ดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้อีก ช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกที่ทำเป็นพาเล็ตวางสินค้า ได้ถึง 32% ซึ่งลดน้ำหนักไปได้ถึงพาเล็ตละ 7kg. เลยทีเดียว ทำให้การขนถ่ายสินค้าทำได้ในปริมาณมากขึ้น ลดต้นทุนเวลาไปได้อีกครับ

ธุรกิจรีไซเคิลจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นเพราะการใช้ชีวิตของคนเราเปลี่ยนไปและต้องการความสมดุลของโลกมากขึ้นครับ

โดยสรุปคือ ประเทศญี่ปุ่นได้เล็งเห็นความสำคัญต่อธรรมชาติเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการออกกฎหมายควบคุมขยะต่างๆ ส่งผลมาสู่ผู้ประกอบการ อาทิ Ito-En ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกัน และยิงการตลาดจากเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องการใส่ใจสุขภาพ น้ำหนัก ทำให้ครองสัดส่วนตลาดไว้ได้ดีในภาคธุรกิจชาเขียว และยิ่งไปกว่านั้นมีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับการลดรีไซเคิลพลาสติก PET อีกด้วย

ในปี 2030 เรามาติดตามกันต่อครับว่า เขาจะสามารถ

ทำได้จริงไหม และจะช่วยลดต้นทุนให้เป็นไปตามการ

ลดการใช้พลาสติกอย่างที่คาดการณ์ไว้ได้หรือไม่นะ

ครับ   

โดย จิรภัทร ภักดิ์แจ่มใส

ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ

https://www.nippon-foundation.or.jp/journal/2022/79985/sustainable?gclid=CjwKCAjw8-OhBhB5EiwADyoY1arAXOKpOgA-mtwnTXdS-J8nAhFT5onNkELk6wMR-WqkVMLa9c-29RoC4zoQAvD_BwE,

https://www.itoen-global.com/management/pdf/2021/ar/all.pdf,

https://www.itoen.jp/oiocha/koicha/,

https://greentea-jfoodo.jetro.go.jp/journal/a-sustainable-future-for-japanese-green-tea-a-leading-companys-vision/index.html

http://cjc.or.jp/j-school/wp-content/uploads/a-2-2_graph.gif,

https://www.tcijthai.com/news/2012/11/archived/1586 https://www.foodnavigator-asia.com/Article/2019/03/12/Cutting-plastic-waste-Kirin-to-use-50-recycled-plastic-in-PET-materials-by-2027#

Itoen Oi Ocha: Unsweetened Green Tea vs Bold Green Tea – Recommendation of Unique Japanese Products and Culture (japanese-products.blog)

https://en.wikipedia.org/wiki/Toshima_Incineration_Plant

Share the Post:
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Related Posts

ลงทุนอสังหาฯในญี่ปุ่น การซื้อบ้าน เช่าบ้าน

แน่นอนว่าคนเรามีบ้านเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะเป็นที่อยู่อาศัย บ้านในที่นี้มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน อาทิ บ้านเดี่ยว บ้านทาวน์โฮม ตึกแถว คอนโด แมนชั่น นานาชนิดเลยครับ บางคนอาศัยถาวรก็มี บางคนมีชนิดที่อาศัยชั่วคราวก็มีตามสภาพสถานะชีวิต ณ ขณะนั้น และตามการพัฒนาการของชีวิตแล้วเมื่อเรียนหนังสือจบ เริ่มทำงาน แต่งงาน มีลูก ก็อยากจะมีบ้านเป็นของตนเอง อาจจะเป็นการเช่าหรือซื้อ ซึ่งในสภาพของสังคม กฏหมาย ภาษีที่ญี่ปุ่นนั้น ทำให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่เลือกที่จะซื้อบ้านแต่เช่าเอา เพราะว่า…

Read More

เทปกาวนิตโตะต่อโลกต่อเรา

ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอบริษัทเทปกาวนิตโตะครับ หากพูดถึงเทปกาว หลายท่านคงจะนึกไปในเรื่องของการแพคขนส่งพัสดุกันมากนะครับ แต่ในความเป็นจริงเทปกาวไม่ได้ทำหน้าที่ยึดเกาะวัสดุเพียงอย่างเดียวครับ หน้าที่อื่นๆที่ใช้จริงในโลกปัจจุบันมีมากขึ้น ได้แก่ เทปที่ใช้ในทางการแพทย์ ปิดบาดแผล ส่งยาจากเทปเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง ลำเลียงยาไปยังจุดที่ต้องการ เทปที่ใช้ในทางอิเล็คทรอนิคส์ มือถือ รถยนต์ เซนเซอร์ เทปบนแผ่นวงจรไฟฟ้านำไฟฟ้าได้ ยืดหยุ่นได้ดี ถ่ายโอนคงามร้อนได้ดี เป็นต้น  ยังมีอีกในหลายๆวงการ อาทิ วงการศิลปะ วงการอาหาร กีฬา ด้วยนะครับ เท่ากับว่าเจ้าเทปนี้อยู่คู่กับคนเรามาตลอดเลยครับ

Read More