คุณลักษณะของคนญี่ปุ่นและปัจจัยเกื้อหนุนต่อสภาพเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 

ทำไมประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกจึงได้พัฒนาจนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับที่สองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งทำให้ในปี 2001 ญี่ปุ่นมี Purchasing Power Parity (PPP) สูงถึง 3.45 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ 2.72 หมื่นเหรียญสหรัฐ ทั้งที่ในปี 1948 มีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่เพียง 380 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงกว่า 85 เท่า ในช่วงเวลาเพียง 50 ปี 

ค่า PPP เป็นอัตราการแปลงสกุลเงินที่ทำให้อำนาจการซื้อเท่ากันแม้จะอยู่คนละประเทศหรือสกุลเงิน ใช้เพื่อการเปรียบเทียบ GDP (Gross Domestic Product) ของแต่ละประเทศเป็นต้น  

ในขณะที่ในปี 2021 ประเทศจีนซึ่งมีค่า PPP สูงสุดในโลก มีค่าอยู่ที่ 24.90ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หากพูดถึงประเทศไทยของเรา อยู่ที่ อันดับที่ 22 จาก 229 ประเทศ ในปี 2021 มี PPP ที่ 1.22 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และญี่ปุ่นอยู่ที่ 5.13 ล้านล้านเหรียญ 

ยกตัวอย่างโค้กลิตร 1 ลิตร ราคา 2.3 ยูโรในประเทศฝรั่งเศส และราคา 2.0 เหรียญสหรัฐ ซึ่ง PPP มาจากสัดส่วน 2.3/2.0 ได้ 1.15 หมายความว่าทุกๆ 1 ดอลล่าที่ใช้ซื้อโค้กลิตร ก็จะสามารถใช้จ่าย 1.15 ยูโรในประเทศฝรั่งเศสในปริมาณและคุณภาพเดียวกัน 

ช่วงที่ญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องนั้นถูกเรียกกันว่า Japanese Miracle โดยเฉพาะในปี 1965-1973 จากคำพูดดังกล่าว เรามาดูสาเหตุ และปัจจัยต่างๆที่ทำให้ญี่ปุ่นมีวันนี้กันครับ ต่อไปนี้จะเป็นทัศนะของShinichi Ichimura ครับ ท่านเป็นอาจารย์ชำนาญการด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาลัยเกียวโต และสนใจทฤษฎีทางเศรษฐกิจรวมถึงการบริหารจัดการและเศรษฐกิจในประชาคมอาเซียนด้วย 

ระดมทุน ออมเงิน 

หลังสงคราม ญี่ปุ่นโดยภาคเอกชนได้ระดมทุนสะสมทุนในอัตราสูง อัตราสะสมทุนต่อ GNP(Gross National Product) ในช่วง 1960s สูงถึง 33% อีกทั้งมีการออมเงิน เงินมากขึ้น ถึงร้อยละ 18 ถือหุ้นระยะยาวและเก็บออมเงินกันมาก  

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ เอื้อต่อการใช้ชีวิตร่วมกันใน

แนวทางเดียวกันตั้งแต่ช่วงสงครามโลก 

มีเรื่องของแรงงานซึ่งมีการให้การศึกษาที่ดี ศึกษาในระดับประถมมัธยม และ การศึกษาขั้นสูงอุดมศึกษา ร้อยละ 97, 39 ตามลำดับ แรงงานมีความขยันขันแข็งมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 10 ประการ ได้แก่ 

  1. ตรงต่อเวลา บุคคลที่ไม่ตรงต่อเวลาจะถูกมองว่าเป็นคนขาดคุณสมบัติพื้นฐานในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม 
  1. มีความรับผิดชอบสูงต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ไม่เช่นนั้นจะนำความเสียหายมาสู่องค์กรรวมถึงวงศ์ตระกูล ในสมัยซามูไรจึงมีการคว้านท้องตนเองหากฝ่ายตนเองพ่ายแพ้  
  1. มีความตั้งใจกระตือรือร้น ชอบขวนขวาย ขยับตัวอยู่ตลอดเวลา 
  1. ความเป็นระเบียบ สะอาด เป็นระบบ ประเทศไทยเราก็ได้รับการถ่ายทอดคุณลักษณะนี้มาเช่นเดียวกัน ได้แก่ 5ส. 
  1. การอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นการให้เกียรติต่อกัน เช่น แม้จะเป็นผู้ให้ แต่ก็อาจจะสร้างความเดือดร้อนเป็นภาระต่อผู้รับได้ ก็จะกล่าวขอโทษไว้ก่อน 
  1. ซื่อสัตย์ สุจริต จงรักภักดี หากลืมของไว้ในที่สาธารณะ โดยส่วนใหญ่ของจะไม่หายไปไหน 
  1. ประหยัด รู้คุณค่าของเงิน ทุกอย่างจะใช้แบบมินิมอล สังเกตจากการ์ตูนโดราเอม่อนที่แม่โนบิตะ หรือการ์ตูนชินจังที่แม่ชินจัง จะประหยัดอดออมเสมอ 
  1. ใส่ใจในรายละเอียด การเปิดผลิตภัณฑ์ซองกระดาษ ซองใส่ขนมต่างๆ จะเปิดสะดวก ไม่เลอะมือ พิถีพิถันเป็นอย่างมาก 
  1. แยกแยะเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงาน จะไม่พูดถึงเรื่องส่วนตัวเด็ดขาดในที่ทำงานเวลางาน งานคืองาน ส่วนตัวคือส่วนตัว แยกแยะเวลากัน 
  1. ทำงานเป็นทีม รวมกลุ่มกัน คนญี่ปุ่นจะมีทีมงาน ปรึกษา รายงาน ติดต่อกันอยู่เสมอ และในข้อนี้เองเค้าจะคิดถึงส่วนรวมเสมอด้วย  

ด้วยคุณลักษณะ 10 ประการนี้ทำให้ญี่ปุ่นหรือคนญี่ปุ่น

เป็นผู้ที่มีคุณภาพสูงต่อสังคมอย่างมาก 

วิทยาการอุตสาหกรรมการเกษตรและการลงทุน 

นอกจากนี้ การดำเนินการทางการเกษตรก็เพิ่มมากขึ้น มีวิทยาการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเกษตรมากขึ้น ทำให้ใช้แรงงานลดลง สามารถผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการ แม้ว่าจำนวนชาวนาจะลดลงหลังสงคราม แต่ก็มีเรื่องรายได้ประชาชาติต่อหัวที่สูงขึ้น นอกจากภาคการเกษตรที่ฟื้นตัวและปรับตัวได้ดีแล้ว มีการยืมเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของโลกยุคสมัยนั้นมาพัฒนาต่อยอดและสั่งสมประสบการณ์จนสามารถสร้างเทคโนโลยีเองได้ ส่วนนี้ก็มาจากการมีแนวโน้มในการสะสมทุนของภาคเอกชนเองด้วยทีี่ช่วยเป็นตัวเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างสำคัญตัวหนึ่ง มีค่าตอบแทนวิศวกรและนักวิจัยที่เป็นที่น่าพึงพอใจ ทำให้มีการลงทุนลงแรงอย่างมากในการวิจัยสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆมาตั้งแต่บัดนั้น 

ญี่ปุ่นมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สุดไปในทุกขั้นและผ่านมาตรฐานรองรับด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์วิจัยตลาด อุปสงค์อุปทานของตลาดโลกทำให้ลงทุนได้อย่างถูกจังหวะ  

ข้าราชการและเอกชน 

ถัดมาเป็นปัจจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาควิสาหกิจเอกชน โดยผ่านระบบ amakudari แปลว่าการลงมาจากสวรรค์ กล่าวคือเป็นการให้เกียรติกับผู้ที่ทำงานภาครัฐ รับราชการในตำแหน่งสูง และหลังจากเกษียณแล้วให้ส่งตัวมาทำงานต่อในภาคเอกชน ข้าราชการมักมีช่องทางรู้จักกับคนในรัฐบาล รู้จักคนวงใน ติดต่อง่าย รู้ว่าควรทำอย่างไรในสถานการณ์ใด จุดนี้เองก็เอื้อประโยชน์ต่อการสร้างชาติญี่ปุ่นได้ดี 

การแข่งขันระหว่างธุรกิจ การให้ผลตอบแทน 

รัฐบาลมีการส่งเสริมการแข่งขันระหว่างบริษัทเพื่อได้สินค้าคุณภาพดี และยังให้แรงงานเข้าสังกัดสหภาพแรงงานเพื่อเน้นย้ำความสัมพันธ์ภักดีต่อองค์กรและความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้าง-นายจ้างที่ถูกมองเป็นสมาชิกในชุมชนเดียวกันมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อมายังการเพิ่มผลผลิตจากแรงงาน 

แรงงานหรือพนักงานบริษัทจะมีลำดับความสูงต่ำตามอายุ ตามลำดับอาวุโส จะได้เลื่อนขั้นตามอายุ ถูกมองว่าเป็นการให้เกียรติ รอเวลาที่เหมาะสมของแต่ละคน มุมมองต่อผู้ถือหุ้นบริษัทและพนักงาน คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่อคนของตนเองมากกว่า ผู้ถือหุ้นก็จะได้เงินปันผลต่ำแต่สุดท้ายก็จะได้กำไรจากราคาหุ้นในตลาดเอง  

การเงินการธนาคาร การเมือง 

สำหรับสถาบันทางการเงิน หรือธนาคารมีบทบาทต่อภาคเอกชนอย่างไร มีการระดมทุนมาปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก เพื่อสนับสนุนการลงทุน สุดท้ายปัจจัยที่ส่งผลกับการฟื้นตัวของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองคือ ความมั่นคงทางการเมือง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างฉับพลัน มีความเห็นพ้องกันว่าจะเร่งฟื้นฟูชาติและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศ  

ทั้งหมดนี้เองทำให้ญี่ปุ่นก้าวผ่านสงครามและทะยานตนเองสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้อย่างก้าวกระโดด แม้ระหว่างทางจะมีเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด มีภัยธรรมชาติมาแทรกแซง แต่ญี่ปุ่นก็มีการร่วมกันผดุงชาติ และมีกลยุทธ์การตลาดหาแหล่งสำรองปรับกลไกการลงทุนให้มีอาหารเพียงพอต่อประชากร และฟื้นตัวได้ในที่สุดครับ  

แต่ในขณะเดียวกันก็มีปัจจัยเชิงลบด้วย ได้แก่ การ

ทำงานหนักไปจนถึงขั้นฆ่าตัวตาย ลำดับขั้นตอนการ

ทำงานที่มีความละเอียดเกินไป ทำให้ล่าช้าไม่ทันชาว

บ้านประเทศเพื่อนบ้าน สนใจงานมากกว่าครอบครัว

เป็นต้น 

ดังนั้นหากเชื่อมต่อมาที่ปัจจุบัน  

เราจะพบว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเริ่มมามีบทบาทมากขึ้นจากความเป็นญี่ปุ๊นญี่ปุ่น และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีก็มีบทบาทที่เด่นตลอดมาโดยเฉพาะด้านดิจิทัล  

ปี 2022 กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ประมาณการเติบโตเศรษฐกิจญี่ปุ่นไว้ที่ 3.3% พ้องกับที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ที่จะขยายตัว 3.2% ทั้งนี้เพราะรัฐบาลได้ประกาศอนุมัติงบรายจ่าย ไว้ที่วงเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 107.59 ล้านล้านเยนเลยทีเดียว สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2010 กอปรกับนโยบายการเงินที่ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นคนก่อนได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมการลงทุนในญี่ปุ่นครับเป็นการดำเนินนโยบายอย่างอดทนในสภาวะเงินเฟ้อและเงินเยนอ่อนค่า ด้วยดอกเบี้ยติดลบก็แปลความตามตัวได้ว่าฝากเงินกับธนาคาร เราก็จะต้องเสียค่าดอกเบี้ยให้กับธนาคารหรือสถาบันทางการเงินนั้นๆด้วย  

มาติดตามญี่ปุ่นกันต่อไปครับว่าเหตุใดในภาวะเงินเฟ้อ

และเงินเยนอ่อนค่าเช่นนี้ จึงยังใช้มาตรการตรึง

ดอกเบี้ยติดลบไว้อีกนะครับ  

เพราะผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นคนใหม่ นาย คาสึโอ อุเอดะ ได้ประกาศในการทำงานวันแรกว่าจะสานต่อนโยบายของผู้ว่าการคนก่อน ที่จะใช้มาตรการสร้างเสถียรภาพของเงินเฟ้อไม่ให้เกิน 2% โดยนโยบาย Yield Curve Control (YCC) หรือ นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลาย คือการคุมอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นติดลบ และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้อยู่ในระดับต่ำใกล้ 0% หรือพูดอีกอย่างก็คือการคุมต้นทุนการกู้ยืมไม่ให้สูงไปในช่วงเศรษฐกิจซบเซาโดยการเข้าซื้อพันธบัตร ตั้งแต่ปลายปี2022 ธนาคารกลางมีการเข้าซื้อพันธบัตรมากขึ้นจาก 7.3 ล้านล้านเยนต่อเดือน เป็น 9ล้านล้านเยนต่อเดือนเพื่อป้องกันไม่ให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ธนาคารเข้าควบคุมกลุ่มสินทรัพย์มั่งคง ให้รายย่อยเอกชนไปกระตุ้นเศรษฐกิจในการลงทุนกับกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงแทน 

รวบรวมข้อมูลโดย จิรภัทร ภักดิ์แจ่มใส

ที่มา : CIA. The World Factbook 2002,

Ichimura Shinichi Political Economy of Japanese and Asian Development, Tokyo 1998,

Uchino Tatsuro Japan’s Postwar Economy : An Insider’s View of its History and Its Future.

รูปภาพ : Japan’s economy expanded for 2nd straight quarter (baynews9.com)

Share the Post:
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

Related Posts

ลงทุนอสังหาฯในญี่ปุ่น การซื้อบ้าน เช่าบ้าน

แน่นอนว่าคนเรามีบ้านเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะเป็นที่อยู่อาศัย บ้านในที่นี้มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน อาทิ บ้านเดี่ยว บ้านทาวน์โฮม ตึกแถว คอนโด แมนชั่น นานาชนิดเลยครับ บางคนอาศัยถาวรก็มี บางคนมีชนิดที่อาศัยชั่วคราวก็มีตามสภาพสถานะชีวิต ณ ขณะนั้น และตามการพัฒนาการของชีวิตแล้วเมื่อเรียนหนังสือจบ เริ่มทำงาน แต่งงาน มีลูก ก็อยากจะมีบ้านเป็นของตนเอง อาจจะเป็นการเช่าหรือซื้อ ซึ่งในสภาพของสังคม กฏหมาย ภาษีที่ญี่ปุ่นนั้น ทำให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่เลือกที่จะซื้อบ้านแต่เช่าเอา เพราะว่า…

Read More

เทปกาวนิตโตะต่อโลกต่อเรา

ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอบริษัทเทปกาวนิตโตะครับ หากพูดถึงเทปกาว หลายท่านคงจะนึกไปในเรื่องของการแพคขนส่งพัสดุกันมากนะครับ แต่ในความเป็นจริงเทปกาวไม่ได้ทำหน้าที่ยึดเกาะวัสดุเพียงอย่างเดียวครับ หน้าที่อื่นๆที่ใช้จริงในโลกปัจจุบันมีมากขึ้น ได้แก่ เทปที่ใช้ในทางการแพทย์ ปิดบาดแผล ส่งยาจากเทปเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง ลำเลียงยาไปยังจุดที่ต้องการ เทปที่ใช้ในทางอิเล็คทรอนิคส์ มือถือ รถยนต์ เซนเซอร์ เทปบนแผ่นวงจรไฟฟ้านำไฟฟ้าได้ ยืดหยุ่นได้ดี ถ่ายโอนคงามร้อนได้ดี เป็นต้น  ยังมีอีกในหลายๆวงการ อาทิ วงการศิลปะ วงการอาหาร กีฬา ด้วยนะครับ เท่ากับว่าเจ้าเทปนี้อยู่คู่กับคนเรามาตลอดเลยครับ

Read More