ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ได้มีการคาดการณ์ว่าทางประเทศญี่ปุ่นได้มีการแทรกแซงค่าเงินมาแล้วถึงสองครั้ง วันนี้ผู้เขียนจะมาเล่าเรื่องการแทรกแซงค่าเงินให้ฟัง
คำถามง่ายก็คือ ใครเป็นคนจัดการเรื่องการเงินเหล่านี้? มีการร่วมมือระหว่างประเทศอื่นนอกจากประเทศญี่ปุ่นหรือไม่? และการแทรกแซงเงินที่มีการแลกเปลี่ยนมากเป็นอันดับสามของโลกนี้มีผมกระทบกับพวกเราอย่างไรบ้าง?
เรามาทวนคร่าวๆกันก่อนดีกว่าว่าญี่ปุ่นแทรกแซงการเงินเมื่อไหร่?
การแทรกแซงการเงินครั้งแรกนั้นมีการคาดการณ์ว่าทำครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 โดยใช้เงินไปมากกว่า 2.8 ล้านล้านเยน เมื่อเยนนั้นขึ้นไปแตะ 146 เยน ต่อ 1 ดอลล่าสหรัฐ โดยวันนั้นเงินเยนแข็งค่าขึ้นไปถึง 140 เยน ต่อ 1 ดอลล่าสหรัฐ
ครั้งที่สองนั้นมีการคาดการณ์ว่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2565 หรือเมื่อหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีการคอนเฟิร์มว่ามีการใช้ปริมาณเงินในการแทรกแซงไปจำนวนเท่าไหร่ โดยปัจจุบันเงินเยนแข็งค่าขึ้นจาก 151 เยน ถึง 145 เยน ภายในหนึ่งอาทิตย์เลยทีเดียว
แล้วใครกันเป็นผู้มีอำนาจหรือสั่งการการแทรกแซงการเงิน?
ในทางทฤษฎี อำนาจการสั่งการนั้นมากจากรัฐมนตรีการคลังของญี่ปุ่น แต่ผู้ที่ทำการ ซื้อ และ ขาย เงินเยน หรือ เงินดอลล่าจริงๆนั้น คือ ธนาคารแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น
แต่ในทางปฏิบัติ การตัดสินใจนั้นขึ้นอยู่กับ Masato Kanda-san รองรัฐมนตรีการคลัง ผู้มีอำนาจการตัดสินใจควบคุมการเงินของประเทศญี่ปุ่นเอง โดยได้รับการยอมรับจากรัฐมนตรีการคลัง Susuki-san เรียบร้อยแล้ว
ที่สำคัญคุณรู้หรือไม่ว่า นี่เป็นการแทรกแซงการเงินครั้งแรกกของญี่ปุ่น หลังจากไม่ได้ทำมานานถึง 24 ปี
หลังจากการตัดสินใจของ Kanda-san และ Susuki-san แล้ว ธนาคารกลางของญี่ปุ่นจะถูกบอกอย่างชัดเจนว่าต้องใช้เงินเท่ไหร่ในการซื้อเยน (พอซื้อเยน ค่าเงินเยนจะแข็งขึ้น) แต่ถ้ามีการขายเงินดอลล่า (เงินดอลล่าก็จะมีค่าอ่อนลง)
การแทรกแซงการเงินครั้งนี้ ญี่ปุ่นทำเองประเทศเดียวได้จริงหรือ?
ปกติแล้วการแทรกแซงการเงินนั้นเป็นไปได้ยากเนื่องจากว่า เงินเยน หรือ ตลาด Foreign Exchange Market นั้นมีการแลกเปลี่ยนจำนวนมาก (High Volume) ธนาคารกลางของประเทศใดประเทศนึงไม่มีอำนาจการเงินมากพอที่จะเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของค่าเงินได้
แต่…การแทรกแซงนั้นก็ถือเป็นการยับยั้งไม่ให้ค่าเงินเคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็ว และกะทันหันเกินไป อย่างไรก็แล้วแต่ นักลงทุนเชื่อว่าสองครั้งที่ผ่านมา ธนาคารกลางของประเทศญี่ปุ่นนั้นได้ทำการแทรกแซงค่าเงินเพียงประเทศเดียว
หากเรามองในอดีต การแทรกแซงครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหว เมื่อปี 2011 โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างประเทศ G7 ทั้งหมด
แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าเกิดการแทรกแซงค่าเงินขึ้นแล้ว?
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 Kanda-san ออกมาจัดประชุมแล้วบอกตลาดว่า ทางรัฐบาลได้มีการใช้มาตรการที่แน่นอนเกี่ยวกับค่าเงินแลกเปลี่ยนแล้ว ซึ่งเป็นการบอกโดยนัยอยู่แล้วว่า ทางธนาคารกลางของญี่ปุ่นนั้นมีการแทรกแซงค่าเงินไปบ้างเล็กน้อย
แต่สำหรับรายละเอียดจำนวนเงินนั้น เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าธนาคารใช้เงินไปเท่าไหร่ในการแทรกแซง หากเราอยากรู้จำนวนเงินแล้วละก็ กระทรวงการคลังนั้นประกาศตัวเล็กทุกๆปลายเดือนของทุกเดือนว่ามีการใช้เงินไปเท่าไหร่ แต่ตัวเลขนั้นเป็นเลขกลมๆในช่วงเวลาหนึ่งเดือนเท่านั้น
แต่หากเราอยากจะรู้ตัวเลขที่แน่นอนของการแทรกแซงเมื่อวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม ที่ผ่านมาแล้วละก็ เราจะต้องรอตัวเลขต่อวัน ที่จะประกาศในเดือน กุมภาพันธ์ ปีหน้าเลย
การแทรกแซงค่าเงินสำคัญมั้ย?
โดยปกติแล้วการแทรกแซงค่าเงินนั้นมีผลกระทบทางความคิดของนักลงทุนในตลาดเท่านั้น แต่ผลกระทบนั้นอยู่ไม่นานอย่างที่คิดเนื่องจากว่านโยบายความแตกต่างของดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีผลกระทบมากกว่าอย่างแน่นอน
หากคิดง่ายๆแล้ว การแทรกแซงค่าเงินก็คงมีผลแค่ชั่วคราว ทำโดยธนาคารของญี่ปุ่นประเทศเดียว ก็คงไม่ต่างจากเสียงรบกวนขนาดเล็กในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (มากถึง 5 ล้านล้านดอลล่าสหรัฐ)
ปรพล ตันติธารทอง
Photo by Maxim Hopman on Unsplash