ไม่มีใครในวงการวิทยาศาสตร์หรือเอ็นจิเนียร์ ที่คงจะไม่รู้จัก Gordon Moore ผู้คิดค้น Moore’s Law ที่เราหลายๆคนรู้จักกันเป็นดี โดยเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ชายผู้ชื่อ Moore คนนี้ได้ทำนายไว้อย่างแม่นยำเกี่ยวกับความเร็วของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้น โดยเข้าใจกันง่ายๆว่า
“ในทุกๆช่วงเวลาหนึ่ง จำนวนของทรานซิสเตอร์ในชิปนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า”
แน่นอนว่าในตอนนั้นเค้าเองและหลายๆคนยังไม่มีใครรู้หรอกว่า ช่วงเวลาที่หมายถึงนั้นคือระยะเวลาประมาณเท่าไหร่ ในตอนแรกเค้าเดาว่าน่าเป็นระยะเวลา 1 ปี
ทฤษฎีของเขาถูกตีพิมพ์ในปี 1965 ก่อนที่มีการก่อนตั้งบริษัท Intel เสียอีก และตอนนั้นเค้าเองก็คิดว่าไม่มีความจำเป็นเลยว่าที่ทฤษฎีของเค้าจะต้องอยู่เกินเวลา 10 ปี ซึ่งก็เป็นจริง ในปี 1975 เค้าได้แก้ระยะเวลาว่าชิปจะเพิ่มจำนวนเป็นสองเท่าจาก 1 ปี เป็น 2 ปี
แต่…สิ่งที่น่าตกใจก็คือ…58 ปี ต่อมา สิ่งที่เค้าเขียนนั้นก็ยังคงเดิม
คอมพิวเตอร์ชิปที่ถูกพัฒนาก็ยังพอที่จะอยู่ในเค้าโครงของ Moore’s Law ตัวอย่างเช่น สมาร์ทโฟนที่เราถืออยู่ในมือนั้นมีความคิดรวดเร็วกว่าชิปที่อยู่ใน Apollo 17 ที่ถูกปล่อยในปี 1972 และยังตรงกับที่ Moore’s ได้ทำนายไว้อีกด้วย
ก่อตั้ง Intel
Moore ร่วมก่อตั้งบริษัท Intel กับเพื่อนของเขา Robert Noyce ในปี 1968 ภายใต้การบริหารของ Moore จนถึงปี 1997 โดยบริษัท Intel มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงโดยประมาณ 650 เท่าจากปี 1968-1997
แต่ใครคิดว่าบริษัท Intel นั้นกำลังโตอย่างต่อเนื่องมากมายแน่นอน แต่จริงๆนั้นไม่ใช่เลย ให้ลองกดไปเช็คราคาหุ้นตัวนี้ดู จากปี 1997-2023 Intel เติบโตเพียงแค่ ไม่เกิน 3 เท่าจากมูลค่าบริษัทเมื่อปี 1997
ทางผู้เขียนจดหมายไม่ได้ต้องการสื่อว่าการเลิกบริหารของ Moore ทำให้บริษัทนั้นเติบโตอย่างช้าลง แต่ในการพัฒนาเทคโนโลยีชิปคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายอย่างเป็นปัจจัย และทำให้ Intel ต้องต่อสู้กันในตลาดที่ดุเดือด และมีการลงทุนสูงเพื่อที่จะผลิตชิปที่รวดเร็ว และแข่งกับหลายบริษัทได้ แต่ถึงแม้มูลค่าบริษัท Intel จะไม่ได้เติมโตมากนัก
แต่ทว่า…
Moore’s Law นั้นได้ถูกนำมาเป็นหลักการในการวางแผนการพัฒนาชิปของหลายๆบริษัท ในปัจจุบัน บริษัทอย่างเช่น Apple, Google, Facebook, Amazon, หรือแม้แต่ TSMC เองก็ได้วางแผนทางธุรกิจโดยอย่างคำนึงถึง Moore’s Law เป็นหลัก เพื่อเป็นการพัฒนาชิปของตัวเองให้ไปได้ไกลและรวดเร็วที่สุด
กฎที่ไม่ใช่กฎ (Moore’s Law is not a Law)
แตกต่างจากกฎของฟิสิกส์ที่เราเรียนโดยทั่วไปตรงที่ว่า จริงๆแล้วมันไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัวเสียจริงเชียว เป็นเพียงแค่ชื่อที่ตั้งขึ้นมาจากการสังเกตและคาดการณ์การพัฒนาของคอมพิวเตอร์ชิปต่างหาก
นั้นหมายความว่า วันนึง Moore’s Law นั้นก็มีโอกาสที่ถูกทำลายลงได้ และจำนวนทรานซิสเตอร์ที่อยู่ในชิป นั้นก็จะไม่เพิ่มขึ้นสองเท่าตลอดไปอย่างที่ Moore’s ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งจริงๆแล้วหลายคนคงจะเคยได้ยินแล้วว่า Moore’s Law นั้นก็เริ่มจะถูกทำลายลงแล้วด้วยเหตุผลที่ว่า การพัฒนาชิปนั้นใช้เวลามากขึ้นและเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้น หรือการมาของเทคโนโลยีอย่างเช่น EUV ซึ่งทำให้การผลิตของชิปขนาดเล็กเท่าอะตอมนั้นเป็นไปได้ยากมาก ผู้เขียนเชื่อว่าเรื่องนี้กำลังใกล้จะเป็นจริง และการลงทุนในบริษัทที่ผลิตชิปหรือเทรนในการลงทุน นั้นก็จะมีการเปลี่ยนไปเช่นกัน แต่นั่นก็คงเป็นอีกหัวข้อนึงที่ผู้เขียนจะนำมาเล่าในจดหมายให้ฟังในภายหลัง
Gordon Moore เพิ่งจะเสียชีวิตไปได้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2023 ด้วยอายุ 94 ปี และนักเขียนจดหมายเชื่อว่าโลกของเราได้เสียเอ็นจิเนียร์ที่มีความสำคัญในการพัฒนาชิปคนนึงของโลกไป อย่างไรก็ตาม Moore’s Law ก็ได้อยู่กับเรามาถึง 60 ปี
แม้การพัฒนาชิปนั้นจะมีความช้าลงตั้งแต่ปี 2010 บริษัทอย่างเช่น NVIDIA เชื่อว่า Moore’s Law นั้นก็ใกล้จะถึงจุดจบแล้วเหมือนกัน แต่บริษัทชิปอย่าง Intel ยังเชื่อว่ากฎนี้ยังใช้ได้อยู่
ปรพล ตันติธารทอง
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Moore%27s_law#/media/File:Moore’s_Law_Transistor_Count_1970-2020.png
Picture: https://www.flickr.com/photos/oninnovation/4335512856